Saturday, October 31, 2020
คนทำฉากเผยสัญลักษณ์บนแบ็คกราวด์ Edge of Creation คือปีกของเซฟิรอธ
เผยเนื้อเรื่องทิฟาที่ถูกตัดออกจาก FFVII Remake
จากหนังสือ Final Fantasy VII Remake Material Ultimania ที่วางจำหน่ายวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา
มีช่วงหนึ่งที่คุณฮิโอคิ (Level Designer) ได้กล่าวว่าอันที่จริง ทิฟาจะต้องมีเนื้อเรื่องพิเศษเพิ่มขึ้นมาหลังจากที่เธอต้องแยกกับคลาวด์ในเหตุการณ์ที่เตาปฏิกรณ์เขต 5
เนื้อเรื่องที่ว่านั้น ควรต้องอยู่ราว ๆ Chapter 7-8 และจะเล่าเรื่องของทิฟาว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างนั้น ก่อนที่เธอจะขึ้นเกวียนโจโคโบะที่มุ่งหน้าไปยังคฤหาสน์ของดอน
คอนเซปต์ของเนื้อเรื่องนั้น ขึ้นการนำเสนอจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมที่จะเกิดขึ้นกับเพลทของเขต 7 และโชว์เสนอของทิฟาที่เป็นตัวเอกในบทนั้น
เนื้อเรื่องดังกล่าวจะเปิดองค์แรกมาด้วยฉากฝนตกเพื่อบิลด์อารมณ์ก่อน จากนั้นเจสซีก็จะเข้ามาคุยถึงความสงสัยว่าอาจมีใครวางแผนถล่มเพลทของเขต 7 ลงมาอยู่ และก็จะมีเรื่องไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในสลัม ทำให้คนเล่นสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?
องค์ที่สอง จะเป็นการนำเสนอสเน่ห์ของทิฟา ด้วยการถ่ายทอดความคิดถึงที่เธอมีต่อเพื่อน ๆ และคลาวด์ และยังนำเสนอความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ ความใจดี และเอกลักษณ์ของเธอ ตัวละครที่เกี่ยวข้องในองค์นี้ ประกอบด้วยแบร์เร็ต มาร์ลีน เจสซี และป้ามาร์ล
องค์ที่สาม ก็จะแสดงนิสัยใจคอของป้ามาร์ล มาร์ลีน เจสซี บิ๊ก เวจด์ ให้ได้เห็นกันมากขึ้น แล้วก็แตะประเด็นเรื่องที่ทิฟาเป็นกังวลสงสัยกับการที่คลาวด์หายตัวไป และก็ยังมีการเล่าความหลังระหว่างอวาแลนซ์ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับวูไถอย่างไร
นอกจากนี้มันก็จะเป็นเนื้อเรื่องที่โชว์ว่าทิฟาไปหาเสื้อผ้าแต่งไปคฤหาสน์ดอนได้อย่างไร เรายังจะได้ลงไปยังฐานทัพลับของอวาแลนซ์อีกด้วย ทว่าท้ายที่สุดแล้วเนื้อเรื่องพิเศษที่มีทิฟาเป็นศูนย์กลางนี้ก็ถูกตัดออกไป (ไม่มีการระบุสาเหตุ)
https://twitter.com/aitaikimochi/status/1322229229023473664
Thursday, October 29, 2020
FFXVI เปิดเว็บไซต์ พร้อมเผยข้อมูลแรกตัวละครและโลกในเกม
เว็บไซต์ Official ของ Final Fantasy XVI เปิดให้บริการแล้ว พร้อมลงภาพ Artwork แรกของเกม
ขอบใจมาก ขอบใจมาก เราจะสู้ (กับคริสตัล) ไปด้วยกันด้วยความรักกันนน
https://jp.finalfantasyxvi.com
https://eu.finalfantasyxvi.com
ไคลฟ โรสฟิลด์ (Clive Rosfield)
- บุตรคนโตของขุนนาง (Archduke) แห่งอาณาจักรโรซาเรีย
- ทุกคนคาดหวังว่าเขาจะได้รับสืบทอดเปลวเพลิงแห่งฟินิกซ์ และตื่นขึ้นในฐานะร่างทรงของมัน ทว่าโชคชะตากับลิขิตให้โจชัว น้องชายของเขาเป็นผู้รับภาระนี้แทน
- เพื่อจะค้นหาบทบาทของตนเอง (เพราะไม่ได้เป็นร่างทรงของฟินิกซ์แบบที่คนรอบข้างคาดหวังแล้ว) ไคลฟจึงทุ่มเทให้กับการฝึกฝนวิชาดาบ และเมื่ออายุได้ 15 ปีก็ชนะการประลองทัวร์นาเมนต์ของขุนนาง และได้รับการขนานนามว่าเป็นโล่พิทักษ์อันดับ 1 แห่งโรซาเรีย
- ไคลฟได้รับมอบหมายให้ปกป้องฟินิกซ์ (โจชัว) และได้รับความสามารถในการควบคุมไฟบางส่วนจากฟินิกซ์มาใช้ (ใน PS Blog บอกว่าโจชัวเป็นคนแบ่งพลังมาให้)
- เส้นทางของไคลฟก็จบลงอย่างโศกนาฏกรรม ด้วยน้ำมือของ Eikon ปริศนานามว่า อิฟรีต และนำพาเข้าไปสู่เส้นทางแห่งการแก้แค้นที่สุดแสนอันตราย
โจชัว โรสฟิลด์ (Joshua Rosfield)
- บุตรชายคนรองของขุนนางแห่งโรซาเรีย
- อายุน้อยกว่าไคลฟ 5 ปี (หมายความว่าโจชัวอายุ 10 ปี)
- หลังจากคลอดออกมาได้ไม่นาน โจชัวก็ตื่นขึ้นในฐานะร่างทรงของฟินิกซ์
- ทั้งที่เกิดมาในตระกูลสูงส่ง แต่โจชัวก็ปฏิบัติต่อผู้คนด้วยความอบอุ่นและเป็นมิตร และยังชื่นชมไคลฟ ผู้เป็นพี่ชายมากยิ่งกว่าใคร ๆ
- โจชัวมักคร่ำครวญว่าตัวเขาอ่อนแอและมีความเป็นหนอนหนังสือ แต่กลับได้รับพลังเพลิงของฟินิกซ์ ทั้งที่คนที่ควรจะได้รับมากกว่า คือพี่ชายของเขาที่เข้มแข็งและกล้าหาญกว่า
- ในขณะที่ไคลฟพร้อมผจญทุกอันตราย แต่โจชัวกลัวกระทั่งแครอทบนจานอาหารเย็น
- ทั้งโจชัวและไคลฟ จ่างก๋ผจญโศกนาฏกรรมที่จะเปลี่ยนชีวิตไคลฟไปตลอดกาล จนลืมเรื่องแครอทไปเลย
- ผมสังเกตว่า script jp เขียนสั้นกว่า ส่วน eng ขยายความไปเว่อร์ แต่ก็มีใจความเดียวกัน
จิล วอร์ริค (Jill Warrick)
- จิลเป็นคนจากเผ่าพันธุ์ของดินแดนทางตอนเหนือที่ได้ล่มสลายไปแล้ว
- เธอถูกพาตัวออกจากบ้านเกิดมายังโรซาเรียตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อเป็นหลักประกันสัมพันธไมตรีระหว่างสองชาติที่สู้รบกันมา (แปลว่าโรซาเรียไปรบกับชาติของจิลมาก่อน)
- ขุนนางได้เลี้ยงดูเธอมาร่วมกับลูกชายของเขา จนปัจจุบันนี้ที่เธอมีอายุ 12 ปี ก็เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลรอสฟิลด์ เคียงข้างไคลฟ และโจชัว ราวกับเป็นพี่น้องกันหมด
- จิลเป็นคนจิตใจดี สง่างาม ถ่อมตน เป็นคนสนิทที่สองพี่น้องไว้วางใจ
วาลิสเธีย – ดินแดนที่โอบอ้อมด้วยแสงพลังจากมาเธอร์คริสตัล
- ดินแดนวาลิสเธียมีมาเธอร์คริสตัล เป็นคริสตัลขนาดมหึมาระดับภูเขาที่ตั้งตระหง่านกระจายอยู่ทั่วแผ่นดิน
- มาเธอร์คริสตัลบรรจุเอเธอร์ (aether | エーテル) ไว้ และแผ่ออกมา ทำให้ผู้คนใช้เวทมนต์ได้ มีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์และสะดวกสบายมานานหลายยุคสมัย
- ประเทศที่มีมาเธอร์คริสตัลก็ค่อย ๆ เติบโตขึ้นเป็นมหาอำนาจ สถานการณ์ของวาลิสเธียอยู่ในสภาพสงบสุขแต่ก็สุ่มเสี่ยงที่จะเสียสมดุลมายาวนาน ทว่าสันติสุขในโลกนั้นก็สิ้นสุดลงเพราะการแพร่ระบาด-กลืนกินของพื้นที่สีดำ (黒の一帯) ที่ทำลายอาณาจักรของพวกเขา
ไอคอน และ ดอมิแนนต์ (召喚獣、 ドミナント)
- ไอคอนเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทรงพลังและอันตรายที่สุดในวาลิสเธีย ไอคอนแต่ละตนจะสิงสถิตอยู่ในตัวดอมิแนนต์
- ดอมิแนนต์คือชายหรือหญิงที่สามารถเรียกใช้พลังแสนอันตรายได้
- บางประเทศจะยกดอมิแนนต์ขึ้นเป็นราชวงศ์ เพื่อสรรเริญยกย่องในความแข็งแกร่ง
- แต่ดอมิแนนต์บางประเทศ ก็จะหวาดกลัวกับการมีพลัง เพราะจะถูกบังคับให้รับใช้ในฐานะอาวุธสงคราม
- คนที่เกิดมาเป็นดอมิแนนต์ ไม่สามารถหลีกหนีโชคชะตาของตนไปได้ ไม่ว่าชะตานั้นจะโหดร้ายขนาดไหนก็ตาม
หนังสือ FFVII Remake Material Ultimania เผยขนาดอกของทิฟาอย่างเป็นทางการ
Thursday, October 22, 2020
เว็บไซต์ Gamesradar ลงวันวางจำหน่าย FFXVI เป็น 2021 ก่อนแก้เป็น Coming Soon
เว็บไซต์ Gamesradar นำเสนอไฮไลต์ของนิตยสาร PlayStation Magazine - UK ฉบับที่ 181
โดยตอนแรกทาง Gamesradar เขียนข้อความประกอบเรื่อง FFXVI ว่า It's official: Final Fantasy 16 is coming in 2021 โดยที่ตัวนิตยสาร PlayStation Magazine - UK ไม่ได้ระบุแบบนั้น.... (หมายความว่า Gamesradar แต่งเติมเรื่องปี 2021 เข้าไปเอง โดยอาจจะแต่งเติมจากความเข้าใจผิดของผู้เขียน? หรืออาจจะเป็นเพราะได้ข้อมูลวงในมาก่อน ก็เป็นไปได้ทั้งสองแบบ)
ในภายหลังทาง Gamesradar ได้แก้ไขบทความ โดยเปลี่ยน coming in 2021 เป็น coming soon แทนแล้ว...
จริง ๆ ผมไม่ได้สนใจข่าวนี้เลย เนื่องจากการที่ Gamesradar เขียนไปเองเจ้าเดียวแบบนี้ มันใช้เป็นน้ำหนักหลักฐานอะไรไม่ได้อยู่แล้ว...
แต่อยากจะ note ไว้เพื่อเป็นหมุดนึงว่า มันจะเป็นจุดเริ่มต้นนึงที่ทำให้คนเข้าใจผิดว่าทางค่ายประกาศ release window (ช่วงที่จะวางจำหน่ายเกม) ไปแล้ว
ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาจวบจนถึงตอนนี้ ผมก็เห็นคนมากมายทั้งฝรั่งไทย เข้าใจผิดกันเสมอว่า FFXV | Versus XIII ประกาศวันวางจำหน่ายแล้วก็เลื่อนไปหลายปีหลายรอบ... พวกเขาเข้าใจว่าค่ายประกาศว่าจะวางจำหน่าย 2009 แล้วก็เลื่อนเป็น 2010 2011 2012 201 .....แล้วก็ค่อย ๆ กระดึ๊บมาเรื่อย ๆ
ซึ่งในความเป็นจริง... ทางค่ายได้ประกาศวันวางจำหน่ายและเลื่อนแค่ 1 รอบ คือเลื่อนจาก 30 ก.ย. 2016 เป็น 29 พ.ย. 2016 เท่านั้น
ส่วนไอ้ก่อนหน้านั้นที่แฟน ๆ เข้าใจผิดกันว่าจะออก 2009 2010 2011 .... มันคือทางค่ายไม่ได้ประกาศ.... แต่พวกคอลัมนิสต์ของสื่อเกม นิตยสารต่าง ๆ "คาดเดา" หรือ "เข้าใจผิด" กันไปเองว่าจะออกปีนั้นปีนี้.... แล้วพอเขียนถ่ายทอดออกมา ก็ทำให้คนอ่านเข้าใจผิดตามไปด้วยว่าทางค่ายประกาศ release window แล้ว
ย้อนไปตั้งแต่ 10 ปีก่อน... เวลามีเหตุการณ์ทำนองแบบ Gamesradar ในวันนี้เกิดขึ้น ตอนผมเขียนข่าวก็ทักอยู่ตลอดแหละว่า มันจะเป็นจุดที่ทำให้แฟนที่ตามแบบผิวเผิน เข้าใจผิดกันไปแน่ ๆ ...ทว่าความเข้าใจผิดนั้น ก็คงเป็นชะตาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
บ่อยครั้ง พวกเว็บซื้อของแบบ Amazon ก็ชอบเปิด pre-order เกม แล้วก็ลงวันวางจำหน่ายเป็น 31 ธ.ค. ของปีปฏิทินถัดไป... ครั้งหนึ่ง Amazon มันก็เปิด pre-order FF Versus XIII แล้วก็ลงวันวางจำหน่าย 31 ธ.ค. 2010 ... คนที่ยังใหม่กับโลกข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ต ก็จะเชื่อเป็นตุเป็นตะว่ามันจะออกตามนั้นจริง ๆ แล้วก็เอาไปบอกเล่าต่อ หรือหนักหน่อยก็เอาไปลงข่าวเป็นจริงเป็นจัง... สร้างความเข้าใจผิดกันต่อเนื่องไป (พอขึ้นปีใหม่ Amazon มันก็แก้เลขปี +1 ไปเรื่อย ๆ)
สรุป
- ค่ายมันไม่ได้ประกาศว่า FFXVI จะออก 2021
- ทาง Gamesradar เขียนเอง แก้เอง
- สรุปไม่ได้ว่า Gamesradar มันเข้าใจผิดหรือรู้อะไรมา
- แต่มนุษย์ส่วนหนึ่ง จะเข้าใจผิดไปแล้วว่าเกมประกาศวันวางจำหน่าย 2021... และถ้าเกมมันไปออก 2022 2023 เข้าก็จะเข้าใจผิดว่าเกมมันเลื่อนวันวางจำหน่ายออกไปและออกไป...
Saturday, October 17, 2020
รวมโพสต์ FF แซวสถานการณ์ในช่วงนี้
Besaid Aurochs คือชื่อของทีมบลิทซ์บอลผู้พิชิตรายการแข่งขัน Crystal Cup ในโลกสปิราซึ่งแม้ในเกมจะเล่นแพ้หรือชนะเลิศก็ได้ แต่ในนิยาย X-2.5 เจ้าพวกนี้เอาถ้วยรางวัลชนะเลิศไปประดับบนยอดหัวเรือ S.S. Acea
เอกลักษณ์ของทีมนี้คือแต่งเหลืองกันทั้งทีม และตัดผมสั้นกันหมด
แม้วักก้าและทีดัสจะออกจากทีมไปแล้ว แต่ทีมบีไซด์ก็ยังเป็นทีมที่น่าเกรงขาม เมื่อใดที่พวกเขา assemble รวมพลังในการแข่งขัน ย่อมนำมาซึ่งความระทมกบาลของคู่แข่งทุกหมู่เหล่าแน่นอน
บางครั้งคนที่ใส่ชุดเดียวกัน เดินเคียงบ่าเคียงไหล่มาด้วยกัน ก็อาจจะไม่ใช่พวกเดียวกันเสมอไป
ดั่งเช่นในขบวนพาเหรดที่จัดขึ้นเพื่อสดุดีต้อนรับการพาบริษัทชินระเข้าสู่ยุคใหม่ ภายใต้การนำของประธานคนใหม่ รูฟัส.... พระเอกอย่างคลาวด์ก็ไปใส่เครื่องแบบทหารชินระ แล้วก็ไปเดินปนอยู่ในขบวนกับเขา เพื่อสวมรอยขึ้นเรือโดยสารที่มุ่งหน้าไปยังท่าคอสตาเดลโซลด้วย
อันที่จริงไม่ใช่แค่คลาวด์ แต่พวกแบร์เร็ตและคนอื่น ๆ ทั้งก๊วนก็ยอมใส่ชุดชินระเพียงเปลือกนอก แต่หัวใจยังเป็นกลุ่มต่อต้านอวาแลนซ์อย่างเต็มเปี่ยม
ซึ่งเหตุการณ์บนเรือก็เป็นอะไรที่ตลกมาก ทั้งเรดที่พยายามเดินแบบคนปกติ ทั้งแบร์เร็ตที่โดนล้อเป็นมาชเมลโลไส้ช็อคโกแลต ....ฯลฯ
ขณะเดียวกันพวกชินระก็ไม่น้อยหน้า ภายหลังก็มีเคทซิธมาแทรกซึมเป็นพวกเดียวกันกับคลาวด์ เพื่อส่งข้อมูลให้กับทางชินระอีกเช่นกัน....
เรียกได้ว่างานนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีวิญญาณนาตาชา ไม่แพ้กันเลยทีเดียว
ตาลปัตร เดิมเป็นพัดที่ทำจากใบตาลหรือใบลานสำหรับพัดตัวเองเวลาร้อนหรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระและคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นและใช้บังหน้าเวลาทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร
ใน FFX เองก็มีนางเอกอย่างยูน่า ถือคทารูปทรงคล้ายตาลปัตร... เป็นผู้ทำหน้าที่นำสวดส่งวิญญาณ ด้วยการโบกพัดคทารูปร่างคล้ายตาลปัตรของเธอ เธอยังใช้คทานั้นร่วมประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อของลัทธิเยวอน
แต่ไม่เพียงใช้ประกอบพิธีกรรมเท่านั้น ยูน่ายังใช้คทาตาลปัตรดังกล่าว เป็นอุปกรณ์ต่อสู้กับความชั่วร้ายโดยตรงด้วย เช่น เอาไปโบกใส่หัวศัตรู
ภายหลังทีมงานอาจจะคิดว่ามันเป็นภาพที่ดูไม่เหมาะสมเท่าไหร่ อีกทั้งตามเนื้อเรื่องหลังจบ FFX ยูน่าก็ไม่ได้เป็นผู้อัญเชิญแล้ว เลยให้เธอวางคทาตาลปัตรแล้วหันไปจับปืน ยิงศัตรูให้มันจบ ๆ ไปเลยแทน
ปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่หลายคนอาจติดภาพว่าอาวุธสุดยอดของแอริธ นางเอกชุดแดงสุดร้อนแรงของ FFVII มีอาวุธสุดยอดเป็นเก้าอี้พับที่ใช้ทุบกบาลศัตรูที่ขวางหน้า
แต่แท้จริงแล้ว อาวุธที่มีพลังโจมตีสูงสุดของแอริธในเกมฉบับออริจินอล คือ ร่ม ที่มีพลังโจมตีสูงถึง 58 มากกว่าคทา Princess guard ที่มีพลังโจมตี 52
นอกจากแอริธแล้ว ยังมีแซ็คอีกคน ที่เอาร่มชายหาดไปไล่ตบร่างแยกเจเนซิสที่คอสต้าเดลโซล
จึงเรียกได้ว่าสำหรับโลก Final Fantasy แล้วร่มก็เป็นอีกหนึ่งอาวุธสุดอันตรายเช่นกัน
พูดถึงโลกที่มีอะไรให้ทำมากมาย นอกเนื้อเรื่องเส้นทางหลักแล้ว หลาย ๆ คนย่อมนึกถึงโลก Eos ของ FFXV ขึ้นเป็นภาคแรก
โดยในภาคนี้น็อคติส ตัวเอก-เจ้าชายที่พึ่งเสียพระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์มิ่งขวัญของประชาชนไปจากการรุกรานของจักรวรรดินิฟไฮม์ จะต้องไปตามทวงคืนคริสตัลที่เป็นขุมพลังของประเทศตน และต้องรวบรวมอาวุธ-พลังจากกษัตริย์โบราณ มาเพื่อหยุดยั้งประสงค์ของจักรวรรดิชั่วร้ายที่ต้องการครองอำนาจเหนือโลก
แต่ระหว่างการเดินทาง... กลับมีสิ่งล่อตาล่อใจ มีกิจกรรมมากมายให้ทำนอกเส้นทางหลัก อาทิ
- ฝึกตกปลาจนกลายเป็นนักตกปลาในตำนาน
- ช่วยจับกบมาวิจัย
- ติดเกมพินบอล
- มั่วสุมประลองแข่งมอนสเตอร์
- วิ่งแข่งโจโคโบะ
- หาของอัปเกรดอาวุธ, รถ
- รับจ้างถ่ายรูป
- ตามหาวัตถุดิบปรุงอาหารสูตรใหม่
- สำรวจโบราณสถานศึกษาอารยธรรมโบราณ
ฯลฯ
ซึ่งคนที่กางอัลติมาเนียแล้วเล่นตามเก็บเควสต์ เก็บไอเทมตามพื้นทั้งหมดในเกมจนสมบูรณ์ครบ ยังเสียเวลากันเป็น 200+ ชั่วโมง... (ไม่นับเวลาอีกเกิน 100+ สำหรับ DLC) ไม่อยากคิดเลยว่าถ้าเล่นแบบไม่กางอัลติมาเนียไปด้วยแล้วงมทุกอย่างเอง จะใช้เวลาขนาดไหน
.
อันที่จริงเควสต์ทั้งหมดในเกมนี้ก็มี Pattern ซ้ำ ๆ กันเหมือนเกมอื่น ๆ ทั่วไป ทำไปสักพักนึงถึงจุดนึงก็เบื่อหรือโคตรเบื่อ แต่ก็ยอมรับว่าเป็นภาคที่มีกิจกรรมเสริมให้ทำเยอะมาก จนลืมเส้นทางหลักไปเลยว่าเรากำลังจะขับรถ Regalia ไปไหนต่อว้าาา....?
หากเราเห็นคน ๆ เดียวกันปรากฏตัวอยู่กับสองฝั่ง นั่นอาจไม่ใช่คนเดียวกันเสมอไป
ดั่งเช่นเรื่องของบาช ขุนพลเอกแห่งอาณาจักรดาลมัสก้า ที่มีพยานพบเห็นว่าเขาเป็นผู้ปลงพระชนม์กษัตริย์รามินาส แต่บาชยืนยันว่าเขาไม่ได้ทำ นั่นมันฝีมือพี่น้องฝาแฝดเขา
แน่นอนว่าพูดแมว ๆ แบบนี้มาก็ไม่มีใครเชื่อ ใครจะบ้าไปเชื่อเรื่องพี่น้องฝาแฝดที่มีอุดมการณ์ต่างกันสุดขั้ว อยู่กันคนละฝั่ง เราเลยเห็นบาชเดี๋ยวโผล่ฝั่งกลุ่มต่อต้านของดาลมัสก้าบ้าง เดี๋ยวไปโผล่ฝั่งจักรวรรดิอาร์เคเดียบ้าง
เพียงแต่กรณีของบาช แกดันมีพี่น้องฝาแฝดที่ชื่อโนอา อยู่จริง ๆ
Final Fantasy VIII Remastered แบบแผ่น กำหนดวางจำหน่ายบน PS4 4 ธันวาคม 2020
ถ้าจำกันได้ กลางปีก่อน Play-Asia มันก็ลงว่าจะออกแบบ Physical บน PS4 ด้วย แล้วก็เปิดให้สั่งจองในราคา $59.99 ที่ไม่สมเหตุสมผลสักกะนิด (แต่ก็เข้าใจว่าเป็นการสร้างกระแสของ play-asia และเป็นการเก็บสถิติยอดการค้นหาไปด้วย) แต่ภายหลังจากที่ Square Enix ประกาศว่าจะออกเกมนี้แบบ Digital เท่านั้น Play-Asia ก็ได้วาร์ปลิงก์สั่งจองหน้าดังกล่าวไป... (จนตอนนี้ก็ยังไม่ได้เอากลับเข้ามา)
ทว่าล่าสุด ก็จะออกแบบแผ่นมาขายจริง ๆ แล้วล่ะ
งานนี้ Squall เลยบอกชาว PS4 สายเก็บแผ่นว่า I here toooooooooo
โนมุระแย้มอาจมีเกมใหม่ลง Nintendo Swtich
คุณซึสึอิ บอกว่าแรร์มาก ๆ ที่คุณโนมุระจะได้มาให้สัมภาษณ์ Nintendo Dream เรื่อง Kingdom Hearts
ซึ่งโนะก็ตอบว่าอีกไม่นาน คงได้พบกันอีก...
https://twitter.com/ShanVenitas/status/1316990451535130624
ไอ้ที่แกพูดมันสอดคล้องกับที่แกให้สัมภาษณ์ Nintendo Enthusiast เมื่อเดือนก่อนว่า อาจจะมีเกมอื่นของแกมาลง Swtich ก็ได้....
https://www.nintendoenthusiast.com/no-plans-kingdom-hearts-switch-tetsuya-nomura-switch-games/
Thursday, October 15, 2020
รีวิวเดโม Kingdom Hearts -Melody of Memory- แบบสามัญชน
- เล่นแล้วรู้สึกไม่ใช่แนว ไม่ใช่รสนิยมตัวเอง เล่นจบรอบเดียวคงเบื่อ ไม่แนะนำให้ซื้อเก็บทั้งเวอร์ชั่น JP และ NA แบบที่แล้ว ๆ มา (บอกตัวเอง)
- เดโมมีความยาก 3 ระดับ Beginner, Standard และ Proud ยังไม่มีความยากระดับ 4 ให้ลอง
- เดโมมีให้เลือกเล่น 4+2 เพลง โดย Wave of Darkness 1 ยากสุด ต้องฝึก ๆ หน่อย (อีก 2 เพลงซ่อนอยู่ในโหมดเล่น 2 คน)
- นอกจากเลือกความยากแล้ว ยังเลือก Style ได้ ใครขี้เกียจ ลองปรับเป็น One-Button Style เล่นก็ได้ แล้วจะทำทุกอย่างด้วยปุ่ม ๆ เดียว เช่น กด O รัว ๆ เล่นก็ได้ (แต่ถ้ากดซี้ซั้วไม่ตามจังหวะก็ตายอยู่ดี)
- .....เสียบกลองไทโกะแล้วลองเคาะดูแล้ว ไม่ติดอ่ะ มันไม่ detect การเคาะหน้ากลองหรือข้างกลองเลย
- Performer Style ที่เพิ่มให้ใช้ปุ่มสี่เหลี่ยม L2 R2 ทิศทางด้วยนี่ ระยำตำบอนมาก.... เหมือนโดนบังคับให้กดอะไรไม่รู้ที่เกมใส่ ๆ มาให้กด ไม่เกี่ยวข้องกับศัตรู ไม่ได้ใช้ในการเล่น KH ตามปกติ (อย่างถ้ากดสี่เหลี่ยม ก็กดไปงั้น ๆ ไม่ได้เป็นการป้องกันหรือกลิ้งหลบศัตรูตามวิธีต่อสู้ปกติของ KH แต่อย่างใด)
- เกมมันก็แปลกดี พอไปวัดไปวาได้ ไม่น่าเกลียด, แต่ถามผมที่ไม่ใช่คอเกมดนตรีแล้วก็ไม่ค่อยโดน ส่วนตัวแล้วคิดว่าแฟน KH ทั่วไปเล่นรอบเดียวก็น่าจะเบื่อ ส่วนแฟนเกมดนตรีก็คงแล้วแต่คนล่ะมั้ง...
Tuesday, October 13, 2020
จูอามิ ตัวแทนของเด็กเจนฯ Z
Monday, October 12, 2020
รีวิวแอนิเม ไดตะลุยแดนเวทมนต์ ตอนที่ 2
- คนแปล แปลจากซับ eng เปล่าหว่า ถึงสะกดพวกปู่แบรส (Brass) หรือเกาะเดิร์มลิน (Dermline) เหมือนคนที่เห็นตัวอังกฤษมาก่อน ซึ่งพวกที่โตมากับฉบับ Talent และ C-Kids แบบผมจะงงแดรก เพราะเราจำเป็นชื่ออ่านแบบคาตาคานะมา (ปู่บลาส / เกาะเดมุลิน)
- ไดนี่ไม่ได้มีแค่พลังแฝงอย่างเดียว ต่อให้ตัดพลังแฝงจากการเป็นสายเลือดอัศวินมังกรไป แต่ทักษะด้านร่างกาย ความคล่องแคล่วว่องไว พัฒนาการ การปรับตัวระหว่างการต่อสู้ ไหวพริบในการอ่านศัตรู ก็อยู่สูงมาก ๆ ดูแล้วชวนให้ผมคิดถึงตัวละครอย่าง โบรลี เลย
- การที่มีไดที่เปรียบเหมือนโบรลี ผนวกกับไอเทมในตำนานโกงโคตรบิดาแบบโกเมะจังอยู่ในทีม เป็นต้นเหตุแห่งความฉิบหายของกองทัพปิศาจ พวกเวิร์นแพ้ก็เพราะอ่านตัวตนที่แท้จริงของโกเมะจังออกช้าเกินไปนี่เอง
- จริง ๆ พล็อตที่ตัวเอกเป็นพวกเชื้อสายพิเศษ มีพลังแฝง มีพรสวรรค์ เริ่มมาก็ parameter เหนือมนุษย์นี่เป็นอะไรที่ฮ็อตในยุคนั้นมาก ใช้ซ้ำจนเอือมจนผมเลิกดูการ์ตูนไป มาถึงวันนี้อยากเห็นพล็อตที่ตัวเอกเป็นพวกชาวบ้าน ๆ ที่ค่อย ๆ เก่งขึ้นช้า ๆ มากกว่า
- (นึกถึงเรื่องกลมกลิ้งสิงห์ปิงปอง ที่ตัวเอกชื่อสคูล ฝึกฝนอยู่กับปิงปองมาทั้งชีวิต ตระกูลปั้นมาเพื่อให้เป็นนักกีฬามือ 1 ของโลก แต่มีพระรองชื่ออากิฮิโกะ ที่มีพรสวรรค์ด้านฟุตบอล แต่โดนชะตาจับพลัดจับผลูให้ต้องมาร่วมทีมปิงปองที่ตัวเองเล่นไม่เป็นด้วย ตอนแรกอิกิฮิโกะสู้สคูลไม่ได้เลย แต่ด้วยสกิลพระรอง... ทำให้อากิฮิโกะเก่งขึ้นเรื่อย ๆ จนท้ายเรื่องไปสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ระดับโลกกับสคูลได้)
- อืมมมม ฉากต่อสู้ทำมุมกล้องน่าสนใจดีนะเนี่ย ชอบ ๆ
- เลโอน่าบอกว่าถ้าโตแล้วช่วยไปเป็นบอดี้การ์ดให้เธอด้วย แต่ไดปฏิเสธ.... นั่นสินะ เจ๊ลืมให้ข้อแลกเปลี่ยนด้วยการไปเดท 1 ทีไป
Friday, October 9, 2020
FFXVI เผยข้อมูลล่าสุดโจชัวคือ The Phoenix
คุณ Audrey อ่านข้อมูลล่าสุดของ Final Fantasy XVI จากนิตยสารแฟมิซือฉบับดิจิทัล แล้วสรุปมาให้
- ตัวเอกของเรื่องเป็นอัศวินผู้สาบานว่าจะปกป้องพิทักษ์โจชัว
- ในโลกนี้ มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดยปราศจากคริสตัลได้ และมีการต่อสู้แย่งชิง Mother Crystal กันในโลก
- โจชัวเป็นเด็กหนุ่มที่ใช้พลังไฟในการรักษาผู้คน เขาถูกเรียกว่า "The Phoenix" แต่นั่นก็แปลว่าเขา..... ?
- โลโก้เกมประกอบด้วยฟินิกซ์และอิฟรีต ระหว่างที่ทั้งสองปะทะกัน ตัวเอกของเรื่องเป็นคนตะโกน "หยุดนะ พอได้แล้ว! เขาเป็นน้องของชั้นนนนนนนนนนนน!!
- เกมมีระบบ Action RPG ซึ่งตัวเอกสามารถทำ シフト หรือ Warp (หลบแบบน็อคติส) ได้ และยังใช้การโจมตีจากอสูรผสมผสานในการต่อสู้
- นอกจากฟินิกซ์และอิฟรีตแล้วยังมอสูรตัวอื่น ๆ อย่างเช่นศิวะและไตตัน พวกองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เป็นขาประจำของซีรีส์ก็ยังคงมีอยู่ เช่น มัลโบโร โจโคโบะ หรือนักรบมังกร
---------------------------------
ความเห็นจากผู้อำนวยการ - นาโอคิ โยชิดะ
---------------------------------
Next Major Announcement จะมาปี 2021 เลย จนกว่าจะถึงตอนนั้น ระหว่างรอก็ช่วยมโนเนื้อเรื่องทุกรูปแบบตามไปด้วย! และโปรดสนใจทั้ง FFXIV และ FFXVI เกมใหม่นี้ด้วยนะครับ! ผมจะทำให้ดีที่สุดทั้งสองเกม!
---------------------------------
ความเห็นจากผู้กำกับ ฮิโรชิ ทาคาอิ
---------------------------------
ผมเล่น Final Fantasy I มาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน และได้ร่วมพัฒนา FFV ในฐานะสตาฟฟ์คนหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นตำแหน่งเล็ก ๆ ก็ตาม จากนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในเกมออนไลน์อย่าง Final Fantasy XI และ Final Fantasy XIV จนตอนนี้... Final Fantasy XVI
นี่คือภาคที่ 16 ของซีรีส์ ซึ่งผมได้ร่วมหัวจมท้ายกับมันตั้งแต่ช่วงตั้งไข่ และได้เผชิญความท้าทายมากมาย เรากำลังพัฒนาเกมนี้เพื่อ PS5 ตอนนี้สตาฟฟ์ก็ได้อุทิศเวลาของพวกเขาทุกวันเพื่อการพัฒนาเกมนี้ คงใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะส่งมอบเกมนี้ถึงมือพวกคุณได้ โปรดติดตามรอคอยกัน จนกว่าจะถึงวันนั้น!
https://twitter.com/aitaikimochi/status/1314470375913189377
https://bookwalker.jp/de08d86fef-771a-4af3-9bd1-532e0f2a3374/
KHUχ ตอนฉันเป็นคน ทำให้เธอหายไป
ขยายความ Kingdom Hearts Union χ ตอนล่าสุด
..................................................
ในห้องประชุมแกนนำยูเนียน
สคูลด์สงสัยว่าความมืดที่ซ่อนอยู่ในตัวเวนตุส คิดจะทำอะไร หากไม่เข้าโจมตีพวกเราสักที?
เอเฟเมร่าเดาว่า มันอาจจะจ้องรอโอกาสอยู่?
เบรนคิดว่า หลังจากได้ยินเรื่องจากปากเวนตุสแล้วก็คิดได้แบบนั้นแบบเดียว ตอนนี้เมื่อเรารู้ถึงการมีอยู่ของมันแล้ว มันก็อาจจะเปิดเผยตัวตนออกมาเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน และมันก็อาจจะจัดการสเตรลิตเซียไปแล้ว แต่ก็ไม่เข้าใจว่าจะทำไปเพื่ออะไร?
ลอวเรียมเปิดประตูเข้ามาถามว่าเมื่อกี้นายพูดว่าอะไรนะ?
ทุกคนเข้าไปดูลอวเรียมที่แทบคลานเข้าห้องมาอย่างหมดสภาพ แล้วถามว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ลอวเรียมไม่สนใจ จะเค้นถามถึงเรื่องที่คุยกันเมื่อกี้
ลอวเรียมกระชากคอเสื้อเบรนแล้วถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับสเตรลิตเซีย
เอเฟเมร่าเข้าไปรั้งบอกว่าเดี๋ยวก่อน แต่ลอวเรียมฟาดแขนใส่เต็มแรงให้เอเฟเมร่าล้มถอยหลังไป
เบรนหน้านิ่ง แล้วบอกว่าดูเหมือนทฤษเฎาของเขาจะถูกต้อง นี่คือเป้าหมายของยามิ ความกังวล ความกลัว ความกังขา ความโกรธ มันกัดกินหัวใจ และฉีกทลายสายสัมพันธ์ระหว่างพวกเรา
ลอวเรียมที่ยังคว้าคอเสื้อของเบรนไว้อยู่กำหมัดแน่น
สคูลด์เข้าไปคว้าตัวลอวเรียมไว้อีกแรง แต่คราวนี้ลอวเรียมเข่าอ่อน จนย่อตัวลงด้วยความงง
สคูลด์กับเอเฟเมร่าพยายามปลอบให้ใจเย็น ๆ แล้วฟังพวกเราก่อน
ทันใดนั้น เพลง ๆ หนึ่งก็บรรเลงขึ้น...
Ventus's Theme
**โปรดอ่านให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าใครพูดอะไร ประหนึ่งฟังเสียงคนโวยวายสาดใส่กัน เพื่ออรรถรสสูงสุดในการรับชม
"ฉันเป็นคน ทำให้เธอหายไป"
"เวน! แกพูดอะไร"
"ยาเมโร่ววว เวนนน!"
"ไม่เอาน่ะเวน!"
"คนที่ทำให้น้องสาวของนายหายไป ก็คือฉัน..."
"เวน... แกทำอะไรสเตรลิตเซีย..."
"อืออออออออออออออออออออ"
"เวนนนนนนนนนน!!"
"ลอวเรียม หยุดได้แล้ววว"
"เวนนนน ตอบมาสิวะะะะ!!" (ใช้สองมือกระชากคอเสื้อ)
"ฮืออออออออออออออออออออออออออออออออออออ"
"พอเถอะลอวเรียม! ไม่สมกับเป็นนายเลย" (เบรนเข้ามารั้งลอวเรียมไว้)
"หุบปากกก"
<ฟิ๊งงงงง> <ขวับบบบบ >
<เปรี้ยงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง>
(ลอวเรียมชัก La Vie En Rose ขึ้นมาฟาดใส่เบรน แต่เบรนโดดหลบได้ แล้วลอวเรียมก็จะฟาดใส่เวนตุส แต่เอเฟเมร่ารีบชักคีย์เบลดขึ้นมาป้องกันแทนไว้)
"ตอบมาสิ เวนตุส!!!"
"อว๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก"
<ชิ๊งงงงงงงงงงงงงง>
(เอเฟเมร่าออกแรงพุ่งไปข้างหน้า ดันให้ลอวเรียมผงะถอยหลังไป)
(เวนทรุดลงก้มหน้าร้องไห้)
"...ไม่..."
"...ไม่ใช่..."
"...ไม่ใช่ฉันน..."
(เมฆหมอกสีดำพวยพุ่งขึ้นมาจากร่างของเวน ที่ล้มสลบไปทั้งน้ำตา)
"ปิศาจ!?"
"อะไรเนี่ยยย??"
"นี่มันอันไรกัน?!"
"แกก็คือ.... ยามิ สินะ"
"ในที่สุดก็รู้จนได้..."
"การมีอยู่ของพวกเรา...."
สถานะล่าสุด! การพัฒนา Final Fantasy XVI
จากหน้าเว็บไซต์ชวนสมัครงานของ Final Fantasy XVI
มีการระบุสถานะของการพัฒนาว่าองค์ประกอบพื้นฐานกับเนื้อเรื่องพร้อมละ จึงชวนให้มาสมัครทำ resource กับบอสไฟต์ภายในเกม
ทั้งนี้ได้มีการระบุว่า สตาฟฟ์ส่วนใหญ่ทำงานทางไกลกัน
既に基礎開発やシナリオの制作は完了しており、各種開発ツールの拡張をしつつ、大規模なリソース制作、ボスバトルの構築を続けている状況にあります。また、ほとんどのスタッフがリモートワークで業務を遂行しています。
Basic development and scenario production have already been completed, and we are continuing to create large-scale resources and build boss battles while expanding various development tools. In addition, most staff work remotely.
Thursday, October 8, 2020
สุขสันต์วันเกิดปีที่ 50 เท็ตสึยะ โนมุระ
8 ตุลาคม 2020
สุขสันต์วันเกิดปีที่ 50 ของเท็ตสึยะ โนมุระ
จากพนักงานตรวจบั๊ค FFIV
สู่คนออกแบบมอนสเตอร์ FFV และมีวีรกรรมไปเคาะประตูห้องซากากุจิ เพื่อขอเปลี่ยน Visual ฉากจบเกมเป็นแบบที่หมุน ๆ ตามที่เราเห็นกัน
จากนั้นเริ่มรับงานออกแบบจับฉ่ายใน FFVI
แล้วก็กลายมาเป็นคนออกแบบตัวละครหลัก FFVII พร้อมร่วมคิดพล็อต และวาดสตอรีบอร์ดเหตุการณ์สำคัญและฉากเรียกอสูร
จากนั้นก็ไต่ยาว ๆ
ช่วงหลัง 2005 เป็นต้นมา ก็ไปเป็น Creative Producer มีช่วงนึงเป็น Creative กับวาดตัวละครให้พร้อมกัน 10 เกม.... คลอดเสร็จทุกเกม ยกเว้นเกมที่ชื่อ Versus XIII ....
ปัจจุบันโนมุระ ตามรอยอันโนะ ฮิเดกิของ Evangelion ไปแล้ว
คือหลอกว่า FFVII Remake เป็นเกมรีเมค...
โดยที่จริง ๆ แล้ว มันไม่ใช่เกมรีเมค ในความหมายปกติ...
อืมมมม แต่จะว่าหลอกก็ไม่ใช่...
เพราะแกก็เอาแปรงสีฟันมาเหน็บหู แล้วบอกบนเวทีงาน E3 2015 ที่เปิดตัวเกมแล้วว่า
"มันจะไม่ใช่การรีเมคธรรมดา ๆ แน่...."
Sunday, October 4, 2020
บ่อยครั้ง ผมมักจะนึกถึงโลกอินเตอร์เน็ตในยุคที่ผมเป็นวัยรุ่น
บ่อยครั้ง ผมมักจะนึกถึงโลกอินเตอร์เน็ตในยุคที่ผมเป็นวัยรุ่น (2000~2010)
โลกอินเตอร์เน็ตตอนนั้น ทุกคนยังใส ๆ การสนทนากับเพื่อนหรือคนแปลกหน้า ยังค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนยุคนั้น
ตอนนู้น เวลามีใครทยอยแปลข้อมูลข่าวสารอะไรมาให้เพื่อน ๆ ในเว็บบอร์ด ...อืมมม ยกสักหนึ่งคนเช่นพี่ซากุระ ที่ตอนนั้นทำงานนิตยสาร MEGA แล้ว พี่เขาใช้ภาพอวตารในบอร์ด Vibulkij เป็นไคริ แล้วก็มีลงเนื้อหาเกมของ Square มาให้ประปรายเรื่อย ๆ
เวลามีข้อมูลแปลแบบนั้นโพสต์ลงมาที เพื่อน ๆ ก็จะแห่กันมาโพสต์ คำชม, คำขอบคุณ ต่างคนต่างก็ตั้งใจอ่าน และคุยถึงรายละเอียดของข้อมูลกันอย่างออกรส
ด้วยความที่สมัยนั้นมีคนทำอะไรแบบนี้น้อยมาก ข้อมูลข่าวสารเกมต่าง ๆ ก็มีต้นตอมาจากสแกนนิตยสารแฟมิซือหรือ VJump จากญี่ปุ่น แล้วก็ต้องรอคนญี่ปุ่นใจบุญสแกนแขวนไว้บนเน็ต แล้วก็รอคนไทยใจบุญไปแปลมาอีกต่อ
คนที่คอยทำอะไรแบบนี้ให้ ก็จะได้รับการปฏิบัติ ต้อนรับจากทุกคนเป็นอย่างดี มีสถานะเสมือนเป็นเทวดา หรือนักบุญผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็ว่าได้
แน่นอนว่า ทุกคนในยุคนั้นที่ลงทุนลงแรง ใช้เวลาเป็นชั่วโมง ๆ แปลอะไรมาให้ ต่างก็ทำลงไปด้วยความรู้สึกที่จะ Spread Positive Vibe ออกไป
หวังให้ผู้ที่ผ่านมาอ่านข้อความของเขาทุกคนมีความสุข คิดในเรื่องบวก และมียินดีกับผลลัพธ์จากความพยายามของเขา
------------------------------------------
ตัดภาพมาที่โลกอินเตอร์เน็ตปัจจุบัน
ผู้คนไม่ต้องรอข่าวสารเกมจากสแกนญี่ปุ่นเป็นหลักแล้ว
เดี๋ยวค่ายเขาก็เอาขึ้นเว็บหลักทั้ง JP/EN หรืออาจจะให้ข่าวกับพวกสื่อเกมทุกสำนักอย่างพร้อมเพรียงกันไปก่อน แล้วกำหนดให้ทุกสื่อปล่อยข่าวได้เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้
คนที่แปลข้อมูลข่าวสารอะไรพวกนี้ ก็ผุดขึ้นมาเต็มไปหมด ใคร ๆ ก็ทำกัน ทุกคนก็ทำได้
เครื่องมือช่วยแปลข้อมูลข่าวสารก็พัฒนาไปมาก
(ผมอยู่กับเครื่องมือพวกนี้มา 20 ปี รู้สึกเป็นบุญมากที่ได้ผ่านการใช้ Babelfish เป็นเว็บแปลทั้ง article มาก่อน หลังจากนั้นก็อยู่เห็นกำเนิด Google Translate ซึ่งช่วงแรกมันก็ยังทำงานได้ไม่ดีเท่าไหร่ เอาไปแปลเป็นคำ ๆ จะรู้เรื่องกว่าแปลทั้งประโยค ได้เห็นว่ามันแปลภาษาตะวันตกด้วยกัน รู้เรื่องกว่าแปลภาษาตะวันตกมาเป็นภาษาเอเชีย.... แล้วก็ได้เห็นพัฒนาการต่าง ๆ เรื่อยมาจนปัจจุบัน ที่มันเติบโตไปมาก)
พอกลายมาเป็นยุคนี้ ที่ใคร ๆ ก็แปลได้
คำชม คำขอบคุณ แทบจะสูญพันธุ์ไปจากจักรวาล ทว่าอาจมองได้ว่าก็มีปุ่มกด Like มาทดแทน (ซึ่งมันแทนกันได้รึเปล่า?)
พอวัฒนธรรมการแปลข่าวแพร่หลายกว่าแต่ก่อน กลายเป็นเกิดค่านิยมใหม่ว่า
- แปลถูกก็เสมอตัว
- แปลผิด ทัวร์ลงงง ทุกคนพร้อมรุมถ่มถุย
และไอ้ที่ผมไม่คุ้นตา ไม่ค่อยเห็นในยุคก่อนเลยคือ
ในประเด็นหัวข้อ/บุคคล อะไรก็ตามที่ที่คนจำนวนมากเคยมีประสบการณ์ถ่มถุยดูแคลนร่วมกันมาก่อนอีก ไม่ว่าจะแง่มุมใดก็ตาม.... หากวันหนึ่งมีการพูดถึงประเด็นข้างเคียงเรื่องนั้นอีก คนจำนวนมากก็จะโผล่กันมาถ่มถุยถากถาง Spread Negative Vibe แม้มันจะไม่ค่อยเกี่ยวกับประเด็นใหม่ที่กำลังพูดถึงก็ตาม
ยกตัวอย่างให้ชัดเจนขึ้น เช่น ถ้าในวันพรุ่งนี้มีหัวข้อ/ข่าว/เรื่องอัปเดต แล้วในเนื้อหานั้นมีคำว่าคุณโทริยามะ (โมโตมุ), คุณทาบาตะ (ฮาจิเมะ), FFXIII, FFXV อยู่ในเนื้อหานั้นด้วย..... (FFVIII พ้นกรรมไปแล้ว)
ก็จะมีคนจำนวนมาก แห่กันเข้ามาแซะสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น แม้ว่าประเด็นที่แซะจะ "ไม่ได้เกี่ยวข้อง" กับประเด็นหลักของหัวข้อ/ข่าว/เรื่องการพูดคุยเลยก็ตาม
(ตัวอย่างที่ผ่านมาเช่น --- ช่วง FFXV ออกมาได้สักครึ่งปี พอเริ่มมีการลงข่าวรายละเอียด DLC และ update ใหม่ ๆ ทีละอย่าง คนจำนวนมากก็จะไม่อ่าน และไม่แสดงความเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในข่าววันนั้น ๆ แต่คนจำนวนมากจะโพสต์ระบายด่าถึงตัวเกม ที่ตัวเองเล่นจบแล้ว หรือไม่ก็ไม่ได้เล่น แต่จะด่าตามแคสเตอร์ที่ตัวเองดู... โดยไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลใหม่ที่ผู้แปลอุตส่าห์เขียนเข้ามาเป็นหัวข้อของโพสต์นั้น.... พอสัปดาห์ถัดมามีการลงข่าวใหม่/รายละเอียดใหม่ เหตุการณ์มันก็จะวนลูป คนจำนวนมากก็จะไม่คอมเมนต์ตอบอะไรเกี่ยวกับเนื้อหาใหม่ แต่จะตอบวนด่าด้วยคำพูดด้วยประโยคเดิม ชุดคำพูดเดิม... เหมือนติดอยู่ในลูป ผู้แปลก็จะไม่มีวันได้เห็นคอมเมนต์ที่สร้างสรรค์ หรือความเห็นใหม่ ๆ นอกจากการด่าวนลูปนั้น....)
ก็คือ ไม่ได้ให้สนใจ-ที่จะอ่าน-และแสดงความเห็นให้ตรง topic นั้นเลย แต่แค่อยากจะระบายความรู้สึกออกไป ซึ่งหากเป็นเรื่องที่สังคมเคยประณามถ่มถุยมาก่อน ตัวเองก็จะมั่นใจที่จะร่วมถ่มถุยซ้ำในรอบใหม่นี้ไปด้วย ราวกับว่า... ราวกับไปร่วมรุมกระทืบคนชั่วเพื่อสำเร็จความใคร่ทางจริยธรรมให้กับตนเอง
ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ผมเห็นมาตลอดในยุคหลัง
เร็ว ๆ นี้ก็ตอน FFVII Remake พึ่งออก แต่ละโพสต์มันจะมีคนย้อนเอาไปหยิบ FFXV มาเทียบแล้วถ่มถุย FFXV อย่างเมามันส์ได้
ปรากฏการณ์แบบนี้ เหมือนมันจะเกิดขึ้นทั่วโลก จนคุณ Maku นักข่าวของ Nova Crystallis แกก็ยังบอกเองว่าสังคมแฟนไฟนอลฯ แม่งไม่น่าอยู่
อยู่แล้วท้อและเหนื่อย
พวกเราเป็นคนประเภทเดียวกัน ที่อยากเห็นการลงทุนลงแรง เอาเวลาพักผ่อนของตัวเอง แปลงเป็นตัวหนังสือ หวังว่าการเสียเวลานั้น มันจะ Spread Positive Vibe ให้แก่คนที่มาอ่านต่อไป และก็คาดหวังลึก ๆ ว่าเราจะได้เห็นพวกเขามีความสุขและสะท้อน Positive Vibe กลับมา
Positive Vibe ที่ว่า ไม่ได้หมายถึงต้องชมเนื้อหา ชมเกม หรือชมคนแปล ....แต่เป็นการตอบอย่างสร้างสรรค์ที่แสดงให้เห็นว่าคุณได้อ่านสิ่งที่เราเขียนไปอย่างดีแล้วค่อยตอบ ไม่ใช่อ่านลวก ๆ แล้วก็สักแต่พิมพ์ด่าอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องมา เพียงเพื่อระบายอารมณ์
ทว่าสิ่งที่ผมและ Maku เห็นคือ ต่อให้เราลำบากแปลไป 1-3 ชั่วโมงนะ พอแปลไปแล้ว เราก็เจอแต่ Negative Vibe กลับมา... แล้วไอ้ที่เขาโพสต์ตอบ ๆ กันมา ก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับไอ้ที่เราแปลกันไปเลย
พอเป็นแบบนี้ซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ หลายปี
ก็เริ่มรู้สึกว่า ไม่รู้จะลำบากแปลแล้วโพสต์ให้คนอื่นมาดราม่าหรือด่ากันทำไม ยังไงเราในฐานะผู้แปลหรือในฐานะคนข่าว ก็แทบไม่มีโอกาสได้เห็นอะไรดี ๆ จากผู้อ่านขึ้นมา ถ้าเราอยากจะเข้าใจเนื้อหาที่เราอ่านนั้น เราแปล แล้วก็เซฟเก็บไว้เอง อ่านเองคนเดียว ก็ได้นี่หว่า
หลาย ๆ ครั้งช่วงหลัง ผมก็เลือกทำแบบนั้น คือไปแปะเนื้อหาไว้ในตัวเว็บไซต์ ที่เป็นเสมือน library ของผม
นั่นจึงเป็นที่มา กลับสู่ประโยคแรกที่ผมจั่วไว้ด้านบน
บ่อยครั้ง ผมมักจะนึกถึงโลกอินเตอร์เน็ตในยุคที่ผมเป็นวัยรุ่นเหลือเกิน... โลกที่ทุกคนยังไร้เดียงสาและไม่ได้คลั่งการ Spread Negative Vibe มากเช่นทุกวันนี้
Thursday, October 1, 2020
บทสัมภาษณ์ทีม Localize Final Fantasy VII Remake (Part 1)
*หมายเหตุว่า - Localize ไม่ใช้การแปลตามตัวอักษร แต่เป็นการแปลงเนื้อหาให้เข้ากับวัฒนธรรมทางการพูดและวัฒนธรรมภาษาของกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ใน Production
ผู้ถูกสัมภาษณ์
- เบ็น (Ben Sabin - รับผิดชอบภาษาอังกฤษ)
- โลวรองต์ (Laurent Sautière - รับผิดชอบภาษาฝรั่งเศส)
- ไดอานา (Diana Kawamata - รับผิดชอบภาษาเยอรมัน)
- โนริโคะ (Noriko Ueda - ผู้จัดการทีม Localization)
(โนริโคะ) ทีม Localize เข้าร่วมโปรเจคท์ FFVII Remake ตั้งแต่ตอนเปิดตัวเทรลเลอร์แรกในปี 2015 โดยทีมประกอบด้วยทั้ง in-house และ outsource / freelance
(เบ็น) ด้วยความที่ตัวเกมมี Original Translation (PS1) อยู่แล้ว แต่มาตรฐานการแปลมันพัฒนาขึ้นมาตามยุคสมัย บริบทหลายอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป การบาลานซ์ความคาดหวังของแฟน ๆ จึงเป็นเรื่องยาก
(เบ็น) แฟน ๆ แต่ละคน ทุกคน ต่างก็ก็มี "บทแปลในอุดมคติ" ของตัวเองกันอยู่แล้ว เราจึงได้ข้อสรุปว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะแปลให้ทุกคนพอใจได้ ไม่ว่าจะทำยังไงก็ตาม
(โลวรองต์) หวั่นใจอยู่ เกมนี้จักรวาลใหญ่ ถูกคาดหวังสูง ต้องใช้ความพยายามหาสมดุลระหว่างการแปลแบบคงเนื้อหาออริจินอล กับการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางส่วนตามความจำเป็น
(เบ็น) เรามีไกด์ไลน์ว่าในการแปลสคริปต์พูด ความยาวเมื่อพูดประโยคออกมา จะต้องต่างจากเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นไม่เกินบวกลบ 0.2 วินาที ดังนั้นการแปลแบบที่คุณคิดว่าน่าจะดีที่สุดสำหรับประโยคนั้น ก็อาจจะไม่สามารถเอามาใช้ได้เสมอไป เพราะม้นยาวหรือสั้นกว่าเวอร์ชั่นญี่ปุ่นมากเกินไป
(เบ็น) และถึงแม้จะแปลมาแล้ว ยาวกว่าเวอร์ชั่นญี่ปุ่นไม่เกิน 0.2 วินาที ก็ยังต้องเช็คอีกว่า มันจะไปทับกับบทพูดประโยคถัดไปรึเปล่า
(เบ็น) สำหรับเกมนี้ เรามีการบันทึกเสียงพากย์ตัวละครหลายตัวดำเนินไปพร้อมกัน พอเราจะเช็คบทพูดประโยคหนึ่งของตัวละครฉากหนึ่งว่ามันรับ-ส่งอารมณ์กับตัวละครที่เรากำลังบันทึกเสียงพากย์อยู่ได้รึเปล่า บางทีเสียงพากย์ของอีกตัวละครนั้น มันก็อาจจะอยู่ในฮาร์ดดิสก์อีกลูก (ทำให้การเช็คยุ่งยาก)
(เบ็น) นอกจากนี้ยังมีความยุ่งยากในการจัดโครงสร้างประโยคให้แมตช์กับการเคลื่อนไหวของใบหน้าและท่าทางของตัวละครด้วย เช่น ถ้าแอริธก้มหน้าเป็นเวลา 3.5 วินาทีในระหว่างบทพูดที่ยาว 4 วินาที ก็ต้องให้คำที่เธอพูดตอนก้มหน้าเป็นคำที่ดูเน้นขึ้นมาอีกหน่อย และต้องเป็นคำที่ใคร ๆ ก็พูดเน้นกันเป็นธรรมชาติ
(เบ็น) ไหนยังต้องเช็คความต่อเนื่องของอารมณ์ในซีนนั้น ๆ ให้ดี บางครั้งเราอาจคิดว่าเราแปลประโยคนั้น ๆ ได้ Perfect ดีแล้ว แต่พอทบทวนดูบริบทโดยรวมทั้งซีน มันกลับพัง
(เบ็น) นักพากย์แต่ละคน มีจังหวะการพูดของตัวเอง ซึ่งแตกต่างกันออกไป และจังหวะการพูดนั้นมันก็ไม่ตรงกับผู้แปล ดังนั้น ต่อให้คุณคิดว่าคุณแปลได้ความยาวเสียงที่เหมาะสมจนสมบูรณ์แบบ ....แต่พอเอามาพากย์ในสตูดิโอแล้ว พอนักพากย์พูดออกมาจริง ๆ (แล้วความยาวมันไม่ได้ เพราะจังหวะการพูดเขาไม่เท่ากับคนแปล) มันกลับต้องมาทำงานกันใหม่
(โลวรองต์) แปลสคริปต์เสียงพากย์เกมญี่ปุ่นนี่งานโคตรหิน ในขั้นตอนแปลและพากย์เสียงภาษาฝรั่งเศสนี่ ส่วนใหญ่คัตซีนก็ยังทำกันไม่เสร็จ หมายความว่าต้องแปลโดยที่ยังไม่เห็นคัตซีน หรือไอ้ที่เห็นก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายภายหลัง
(โลวรองต์) กรณีภาษาอังกฤษนี่ยังโชคดี เกมมีทำลิปซิงค์ให้ขยับปากตามเสียงพากย์อังกฤษไว้ แต่ของภาษาฝรั่งเศสไม่มี เลยต้องแปลให้การขยับปากใกล้เคียงกับเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นให้ได้มากที่สุด (ซึ่งคัตซีนมันยังไม่เสร็จ ก็เลยไม่ได้เห็นว่ามันขยับกันจริง ๆ ยังไง) ดังนั้นลำพังการแปลให้ความยาวเสียงมันเท่ากับภาษาต้นฉบับ มันก็ไม่เพียงพอ
(โลวรองต์) ไหนยังต้องคำนึงอีกว่านักพากย์ญี่ปุ่น ชอบพูดแล้วหยุดเว้นวรรคระหว่างคำบ่อย ๆ ให้ดูดราม่าอีก ซึ่งภาษาฝรั่งเศสเขาไม่ทำกัน
(โลวรองต์) ดังนั้น สมมติประโยคหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น มีการพูดแล้วเว้นวรรคสองช่วง เราเลยขอแปลเป็นสามประโยคสั้น ๆ ในภาษาฝรั่งเศสไปดีกว่า, หรือไม่ก็ต้องพยายามหาหนึ่งประโยคที่มันพูดแบ่งวรรคสั้น ๆ หลายครั้งแบบนั้น แล้วไม่ดูแปลกจนเกินไป
(ไดอานา) แกรมมาร์และสไตล์การพูดของเยอรมันกับญี่ปุ่นนี่แตกต่างกันขั้นสุด อุปสรรคใหญ่ก็แปลให้ทั้งความยาว และการเว้นวรรคแมตช์เข้ากับภาษาญี่ปุ่นได้ มันต้องใช้ความครีเอตสูงมาก ภายใต้ข้อจำกัดทั้งปวง
(เบ็น) คุณภาพของคัตซีนที่ยังทำไม่เสร็จ (ที่เอามาเป็นไกด์ไลน์ประกอบการทำพากย์เสียง) กับเราสามารถไปเช็คคัตซีนมากมายเหล่านั้นในระหว่างกระบวนการแปลได้ ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งบททั้งหมดให้ออกมาสุดความสามารถได้
(เบ็น) นักพากย์ Hype กันทั้งสตูดิโอ โปรแกรมเมอร์ ผู้คนทั้งหมดก็ excited กันไปด้วย ทุกคนสู้ตายถวายหัวให้ จนไม่รู้ว่าจะได้เห็นความบ้าคลั่งขนาดนี้จากที่ไหนได้อีกรึเปล่า
(โลวรองต์) ตารางงานแน่นเอี๊ยด ต้องจัดสรรสตาฟฟ์มาเยอะและทำ multitask กันหนักเพื่อให้ทันเด็ดไลน์
(โลวรองต์) ปกติงานสเกลนี้ ใช้นักแปล 2-3 คนต่อภาษา แต่สำหรับเกมนี้ ใช้ 6 คน (ต่อภาษา) ซึ่งมันยากที่จะทำให้แปลได้กลมกลืนกัน
(โลวรองต์) บางครั้งการเปลี่ยนแปลงสคริปต์ญี่ปุ่นเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจกระทบการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสให้เปลี่ยนแปลงไปมาก
(ไดอานา) นี่เป็นงานพากย์เสียงเต็มรูปแบบเกมแรกที่ได้มาทำเลย
(เบ็น) สมัยก่อน มันจะเป็นการโยน text file ให้คนแปลที่ตัวอยู่ไหนก็ไม่รู้ เอาไปแปลมาส่ง, แต่ทุกวันนี้ หลายเกมที่เราแปลจะทำโดยทีม in-house ที่นั่งทำงานข้าง ๆ คนเขียนบทและโปรแกรมเมอร์ มันไม่เพียงทำให้คนแปลและทีมงานสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลกันได้อย่างอิสระ แต่ยังให้โอกาสได้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคท์มากขึ้น
(เบ็น) ตัวอย่างเช่น หลาย ๆ เพลงที่มีเพลงร้องเป็นภาษาอังกฤษภาษาเดียว เราก็จะได้รับมอบหมายให้แปลเนื้อเพลงที่ ผกก. แต่ง เอาไปแปลงเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมได้อธิบายบรรทัดต่อบรรทัดให้ฟังด้วยว่าทำไมถึงเลือกแปลชอยส์นั้น
(เบ็น) ก่อนหน้านี้ยังเคยร่วมมือกับทีมงาน เซ็ตมาตรฐานในการตั้งชื่อสถานที่เวอร์ชั่นญี่ปุ่นกับอังกฤษของเกม ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้วชื่อจะสื่อไปในคนละ term แต่อย่างน้อยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก็จะได้รู้ว่าการตัดสินใจของแต่ละคนนั้นมันมีความเป็นมายังไง ตอนที่เริ่มมีการแปลเกม ผมไม่คิดมาก่อนว่าการร่วมมือกันจะพัฒนามาจนถึงจุดนี้ได้
(โลวรองต์) 20 ปีก่อน เราต้องทำงานกับ text file ที่จัดโครงสร้างเรียงกันมาแปลก ๆ และต้องมางมงงกับมันมาก แต่ทุกวันนี้ แม้ว่าทุกอย่างจะยังไม่เพอเฟคท์และบางครั้งเรายังต้องใช้ความพยายามในการหาอะไรยังไงอยู่บ้าง ทว่าเราก็มี localization tool ที่มีฟังค์ชันค้นหาที่ทรงประสิทธิภาพ และมีสิ่งอื่น ๆ ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้อีกมาก ทำให้การจะทำอะไรต่าง ๆ มันง่ายขึ้นเยอะ
(โนริโคะ) สมัยก่อนเกมจะค่อยถูก localize หลังจากที่ทุกอย่างในภาคญี่ปุ่นเสร็จสมบูรณ์แบบแล้ว ทว่าการ localize ในปัจจุบันนี้ จะทำไปพร้อมกับการสร้างเกมเลย เพื่อที่เกมทุกเวอร์ชั่นจะวางจำหน่ายได้อย่างพร้อมเพรียงกัน
(โนริโคะ) โดยธรรมชาติของการสร้างเกมแล้ว ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง text ภาษาญี่ปุ่นไปอย่างมากมายตลอดการพัฒนา การไล่แก้ตามความเปลี่ยนแปลงมหาศาลนั้นให้ได้ และวางจำหน่ายให้ทันกำหนด ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
(โนริโคะ) สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยในการแปลเกมนี้ไว้ก็คือ translation file management tool ที่ชื่อ Byblos ที่ทีม Localize พัฒนากันขึ้นมา มันมีฟีเจอร์ช่วยติดตามและอัปเดตให้เราทราบว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตรงไหนกับ text ภาษาญี่ปุ่น และแต่ละภาษาแก้ตามกันไปถึงไหนแล้ว