Sunday, September 30, 2007

รวมข้อมูลน่าสนใจจาก Crisis Core -Final Fantasy VII- หลังเกมวางจำหน่าย 2 สัปดาห์

**คัดลอกจาก entry ที่ผมเขียนลง exteen ในวันที่ 30 ก.ย. 2007
http://ffplanet.exteen.com/20070930/crisis-core-final-fantasy-vii

------------------------------------------------



เป็นการสรุปข้อมูลที่น่าสนใจจากบทสัมภาษณ์เก่าๆ หลายๆ ฉบับที่ผมยังไม่เคยได้แปลนะครับ

- จุดกำเนิดของภาคนี้คือ วันหนึ่งคุณคิตาเสะอยากจะทำ FFVII สำหรับภาค PSP ขึ้นมา เขาก็เลยไปบอกคุณทาบาตะ (ไดเรคเตอร์) ว่าอยากให้ช่วยทำเกม FFVII ลง PSP ให้หน่อย เอาเป็นไซด์สตอรี่ของภาคเก่าๆ แบบภาค BC ก็ได้ คุณทาบาตะเองก็บอกว่าขอเวลาไปคิดซักหน่อย ว่าแล้วเขาก็รีบไปปรึกษากับคุณโนมุระ วันต่อมาพวกเขาก็เลยได้ไอเดียว่าเราจะทำเกมที่ดำเนินเรื่องโดยมีแซ็คเป็นตัวเอกกัน ตอนแรกนั้นกะจะให้เกมนี้มีชื่อภาคกว่า "Before Crisis Core" แต่ก็มีคนค้านว่ามันไม่ใช่เกมพอร์ทนะ จะเอาชื่อ BC ไปเอี่ยวด้วยมันก็ดูยังไงๆ อยู่ สุดท้ายก็เลยเปลี่ยนมาเป็น Crisis Core เฉยๆ

- คุณคิตาเสะต้องไปรับลูกที่โรงเรียนอยู่บ่อยๆ ระหว่างที่เขานั่งรอลูกเลิกเรียนอยู่ในรถเขาก็มักจะหยิบ PSP ขึ้นมาเล่นเป็นประจำ สำหรับเขาแล้วที่เขาเลือก PSP ก็เพราะถ้าเขาอยู่ในเขตที่มี wireless-lan เขาก็จะสามารถเล่นเว็บได้ ส่วนตัวแล้วเขาเป็นคนไม่ชอบพกโน้ตบุ๊คไปไหนมาไหนเพราะมันลำบาก พก psp ใส่กระเป๋าเนี่ยแหละง่ายสุดแล้ว และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมคุณคิตาเสะถึงได้เลือก PSP

- เรื่องที่ชื่อ CC BC AC มันต่อกันพอดี ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาวางแผนกันแต่แรก ทว่าหลังจากที่ได้เปลี่ยนชื่อจาก BCC มาเป็น CC พวกเขาก็คิดว่าถ้ามีเกมต่อไปก็จะให้ไล่ลำดับตัวอักษรแล้วล่ะ

- ระบบหลายๆ อย่างในเกมนี้ถูกคิดขึ้นมาแล้วก็โละทิ้งไปมากมาย แต่มีระบบ DMW เนี่ยแหละที่ยืนหยัดตั้งกะเริ่มโครงการมาจนถึงช่วงเกมออกได้ คุณคิตาเสะเองเป็นกังวลว่าระบบนี้มันจะสนุกเร้อ?ขณะที่คุณทาบาตะ มองว่าระบบนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจ และมันก็สื่อความหมายในตัวมันเอง ส่วนคุณโนมุระบอกว่าจุดเด่นของมันอยู่ที่การทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นระทึก ด้วยระบบ DMW เนี่ยแหละมันสามารถจะพลิกสถานการณ์ในการต่อสู้ เปลี่ยนกระแสและอารมณ์ของผู้เล่นได้อย่างง่ายดาย ขณะเดียวกันกว่าที่เราจะบรรลุสัจธรรมถึงความหมายที่แท้จริงในการมีอยู่ของ DMW ก็ต้องเล่นไปถึงการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของแซ็คกับทหารนับพันแล้วเท่านั้นแหละ

- คนคิดระบบ DMW คือคุณโนมุระ และคนที่คิดว่าในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของแซ็คต้องให้ DMW มันเกิดลูกเล่นแบบนั้นก็คือคุณโนมุระน่ะแหละ ตอนที่เอาเกมนี้ไปให้คนทดลองเล่นกัน หลายๆ คนที่ได้เล่นฉากสุดท้ายบอกว่าในที่สุดพวกเขาก็เข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังระบบ DMW แล้ว คุณโนมุระเองเมื่อได้ยินก็ดีใจมากที่ในที่สุดความตั้งใจของเขาก็ส่งผ่านไปถึงตัวผู้เล่นได้

- ในบรรดาฉากต่างๆ ที่เคยเห็นกันแล้วในภาค VII เก่าและปรากฏซ้ำในภาคนี้อีก มีหลายๆ ฉากที่พวกทีมงานอยากจะแก้ใหม่ให้มันต่างจากของเดิม แม้ว่าคุณคิตาเสะจะอนุญาตให้ทำได้ตามความเหมาะสม แต่ดูเหมือนว่าพวกสตาฟฟ์ใหม่ๆ หรือสตาฟฟ์เด็กๆ จะไม่กล้าทำกัน พวกเขารู้สึกกดดันที่จะต้องเข้าไปแก้ไขเนื้อหาของ FFVII เดิมที่มีแฟนๆ อยู่หลายล้านคนทั่วโลก สุดท้ายคุณคิตาเสะก็เลยต้องลงไปสั่งการเอง เขาพยายามบอกกับตัวเองว่ามันเป็นของที่เขาสร้างมันขึ้นมาเองเขาไม่จำเป็นต้องกลัว ในเวลานั้นไม่มีใครกล้าออกความเห็นขัดกับคุณคิตาเสะ แต่ก็มีทีมงานคนหนึ่งคนเดียวเท่านั้นที่สามารถออกความเห็นมาเบรคคุณคิตาเสะไว้ได้ นั่นก็คือคุณโนมุระ เดิมทีแล้วคุณคิตาเสะอยากจะแก้ฉากเซฟิรอธ vs แซ็ค โดยเขาตั้งใจจะให้ร่างเจโนว่านั่นมีส่วนเอี่ยวด้วย ทว่าคุณโนมุระก็บอกว่าอย่านะเฮีย ของเก่ามันไม่มีอะไรแบบนั้น!!!

- แม้ฉากจบของภาคนี้จะหม่นหมอง แต่คุณโนมุระก็หวังว่าผู้เล่นจะสามารถรู้สึกได้ถึง "ความหวัง" ที่ถูกส่งต่อไปยังอนาคต และด้วยความเสียสละของแซ็คนั่นแหละ ตำนานบทใหม่ของ FFVII ถึงได้เริ่มต้นขึ้นมาได้

- คุณทาบาตะเป็นคนคิดฉากจบส่วนที่เป็นการวนลูปกลับไปยังฉากเปิดเกมของ FFVII และด้วยฉากๆ นี้คุณทาบาตะก็หวังว่าพวกคุณโนมุระและคิตาเสะ จะได้รับข้อความที่ว่า "รีเมค FFVII เหอะ" จากเขา ซึ่งผลปรากฏว่าพอคุณคิตาเสะได้ดูฉากจบแล้วเขาก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องที่ว่าคุณทาบาตะอยากจะให้รีเมคแต่อย่างไร แถมยังตอบกลับไปอีกว่าถ้าอยากให้รีเมคนัก ก็ทำเอาเองสิ (555+)

- ฉากที่คุณคิตาเสะชอบมากที่สุดคือฉากเซฟิรอธ vs แซ็ค แต่ต้องเป็นเวอร์ชั่นที่มีเจโนว่าเอี่ยวด้วย ซึ่งก็โดนคุณโนมุระหั่นทิ้งไปแล้ว ขณะเดียวกันฉากที่คุณโนมุระชอบมากที่สุดคือฉากที่แซ็คตัดสินใจเด็ดขาดว่าเขาเป็นโซลเยอร์ ไม่ว่าศัตรูจะเป็นใคร ไม่ว่าเขาต้องเผชิญกับอะไร เขาก็จะสู้สุดใจ ส่วนคุณทาบาตะชอบฉากเปิดตัวของเจเนซิส

- ฉากจบเกมนั่นมีการถ่ายทำกำกับกันใหม่ถึง 20 รอบ กว่าจะได้ออกมาเป็นอย่างที่เห็นนะนั่น

- คุณโนมุระบอกว่าเขาก็อยากทำ FFVII รีเมค แต่มันไม่มีสตาฟฟ์จะทำด้วยอ่ะดิ (ก็เล่นเอาไปทำเกมอื่นๆ หมด)

- สำหรับเครื่องชุดพิเศษนั้นตอนแรกว่าจะทำแค่ 10,000 ชุด แต่ด้วยแผนการตลาดอันแยบยล ไปๆ มาเลยทำกัน 77,777 ชุดดีกว่าคุณโนมุระเองได้พยายามจะจองเครื่องชุดนี้จาก SE e'STORE แต่ดันจองไม่ทันเลยต้องไปยืนต่อคิวในวันวางจำหน่ายแทน ส่วนคุณทาบาตะใช้เส้น เอ้ย! สั่งจองกับร้านสะดวกซื้อเอา

- ระหว่างที่แซ็คไปท่องเที่ยวทั่วโลก เขาจะได้รับ sms จากเพื่อนๆ มาเรื่อยๆ แต่เขาจะไม่มีวันได้ sms จากแอริธเลย สาเหตุก็เพราะแอริธไม่มีโทรศัพท์มือถือน่ะเอง

- ซิสเนย์เป็นเด็กกำพร้าที่เกิดที่วูไถจริงๆ นะ และเธอก็เป็นคนที่เข้าร่วมเทิร์คด้วยสถิติอายุน้อยที่สุดซึ่งก็คือ 16 ปี

- ทหารที่สำออยทำเป็นนอนสะดีดสะดิ้งหลังจากช่วยปกป้องทิฟาจากมอนสเตอร์ คือคลาวด์น่ะเอง

- ลายกางเกงว่ายน้ำของแซ็คที่เป็นรูปดอกทานตะวัน (หรือใครจะมองว่าดวงอาทิตย์ก็แล้วแต่) เอามาจากชื่อสกุลของแซ็คที่แปลว่า "แจ่มใส" น่ะแหละ

- สังเกตได้ว่าโซลเยอร์คลาสสองทุกคนจะใส่ชุดสีแดง แต่มีแซ็คคนเดียวที่ดันเป็นชุดสีน้ำเงินเข้ม..ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณโนมุระบอกว่าจงทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เถิด ก็แซ็คในชุดสีแดงมันคงจะดูไม่จืดจริงๆ

- โซลเยอร์เฟิร์สคลาสสามารถใส่ชุดอะไรก็ได้ตามใจ เจเนซิสกับเซฟิรอธเองก็มีชุดของตัวเอง แองจีลที่เป็นคนซีเรียสก็ใส่ชุดมาตรฐานที่เป็นสีดำ

- คุณโนมุระเคยคิดจะออกแบบแอริธในกางเกงขายาวหรือมินิสเกิร์ตหลายทีแล้ว แต่มันไม่เวิร์คจริงๆ ให้ดิ้นตาย

- แองจีลในเรื่องอายุแค่ 25 เท่านั้น...แม้ว่าหน้าลุงแกจะดู 30+ แล้วก็เถอะ

- พอลองถามว่าซิสเนย์เป็นอะไรกับแซ็ค คุณโนมุระก็บอกว่าจำได้มั้ยแอริธเคยพูดใน FFVII ว่าแซ็คเค้ามีเกิร์ลเฟรนด์อยู่เยอะ คุณทาบาตะก็เสริมว่าซิสเนย์เนี่ยก็ถูกวางบทบาทให้สอดคล้องกับสิ่งที่แอริธพูดน่ะแหละ

(สรุปว่าเป็นกิ๊กไปละกัน -_-")

Thursday, September 27, 2007

บทสัมภาษณ์ล่าสุด KH -Birth by Sleep-

แฟมิซือ : การพัฒนาภาค Birth by Sleep คืบหน้าไปถึงไหนแล้วบ้างครับ?

โนมุระ : ระหว่างการพัฒนาก็มีงานสร้างภาค Re: CoM ขึ้นมาขวางไว้ก่อน ทำให้การพัฒนา KH -BBS- ต้องหยุดชะงักลง ตอนแรกผมรู้สึกแปลกๆ เหมือนกันนะที่ต้องเริ่มทำโปรเจคท์นี้ต่ออีกครั้ง ผมเชื่อว่าโปรเจคท์สร้างเกมภาคนี้น่ะเริ่มขึ้นก่อน Kingdom Hearts อีกสองภาค (358/2 Days และ Coded) และผมก็เชื่อเช่นกันว่ามันเป็นภาคที่จะวางจำหน่ายช้าที่สุดในบรรดาทั้งสามภาค

แฟมิซือ : มันเกี่ยวข้องกับฉาก Birth by Sleep (ในฉากจบลับของ KHII FM+) ยังไงเหรอครับ?
โนมุระ : ฉากจบลับนั่นทำให้เราได้เห็นภาพลักษณ์ของเกม BBS ชื่อของภาคนั้นก็ต้องเหมือนกับชื่อของฉากนั้น มันเป็นเรื่องยากที่จะแสดงออกถึงการต่อสู้อันดุเดือดเลือดพล่านในเนื้อหาการเล่น สำหรับฉากจบลับนั่น...มันก็คือภาพของตอนจบน่ะแหละ (พยายามจะบอกว่า BBS จะจบแบบนั้นงั้นรึ?)

แฟมิซือ : คงได้มีการพูดถึงประเด็นนี้กันให้แซ่ดเลยนะ ว่าแต่เกมนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของช่วงเวลาอดีตสำหรับซีรียส์นี้ใช่มั้ยครับ?
โนมุระ : เมื่อดูจากไทมไลน์ของเกมนี้แล้วภาคนี้จัดว่าเป็นภาคที่เกิดขึ้นในอดีตแรกสุดของซีรียส์ช่วงซักประมาณ 10 ปีก่อน KH ภาคแรกในเกมจะมีภาพของเด็กสองคนที่กำลังเล่นกันอยู่ที่ชายหาดด้วย ผมเชื่อว่าแฟนๆ คงรู้ว่านั่นหมายถึงอะไร

แฟมิซือ : ในเรื่องมีการบอกกล่าวไว้ว่า เนื้อเรื่องทั้ง 3 จะถูกชักพาไปโดยตัวเอกทั้ง 3 ในแต่ละเนื้อเรื่องนั้นจะมีความเกี่ยวพันกันมั้ยครับ?
โนมุระ : ตัวเอกทั้งสามก็คือ เทอร์ร่า เวน และตัวละครอีกตัว เราได้เตรียมเนื้อเรื่องสำหรับพวกเขาทั้งสามคนแล้ว บอกให้ก็ได้ว่าทั้งสามเนื้อเรื่องนั่นถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กัน เมื่อดูความคืบหน้าในการสร้างเนื้อเรื่องคงเป็นการยากที่จะให้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในตอนนี้ (แปลว่ายังไม่ไปถึงไหนเลยสินะ) แต่ก็บอกได้ว่าตอนเริ่มเกมนั้นจะเป็นอะไรที่เข้าใจยากใช่น้อย แต่ด้วยการเล่นจบทั้งสามเนื้อเรื่อง คุณก็จะเข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมดเอง

แฟมิซือ : ชื่อของตัวเอกทั้งสามนั้นต้องการสื่อถึงอะไรบางอย่างรึเปล่าครับ?
โนมุระ : ใน Kingdom Hearts โซระจะหมายถึงท้องฟ้า ริคุหมายถึงผืนดิน และไครี่หมายถึงทะเล ส่วนของเกมนี้นั้น ความหมายทั้งสามของชื่อเหล่าตัวเอกจะมีผลกระทบอย่างมากกับตัวโลกของเกม

แฟมิซือ : เนื้อเรื่องทั้งสามนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันรึเปล่าครับ ?
โนมุระ : เนื้อเรื่องทั้งหมดจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามมันก็อาจจะมีความแตกต่างในช่วงเวลาอยู่บ้าง นอกจากนี้ก็จะมีช่วงเวลาที่ตัวเอกทั้งสามได้มาพบกันด้วย

แฟมิซือ : มีการกำหนดลำดับการเล่นรึยังครับ(ว่าต้องเล่นเนื้อเรื่องไหนก่อน)
โนมุระ : ผมเชื่อว่าคงเป็นการดีกว่าถ้าเราจะให้อิสระกับผู้เล่นในการเลือกว่าจะเล่นเนื้อเรื่องไหนก่อน แต่ว่าเรื่องนี้ก็มีการพูดถึงอยู่เหมือนกัน แต่ยังไงๆ ผมก็เชื่อว่ามันต้องดีกว่าแน่ๆ ที่จะให้พวกคุณได้เลือกว่าจะเล่นเนื้อเรื่องใครก่อน

แฟมิซือ : ประเด็นในภาคนี้จะเน้นไปที่เรื่องของอะไรบ้างครับ?
โนมุระ : สำหรับประเด็นนั้น ก็อย่างคำพูดที่ปรากฏขึ้นมาใน KH2เซอานอร์ท..เกมนี้จะให้คำตอบกับคำถามหลายๆ อย่างเช่น ทำไมตาแก่ที่ปรากฏใน BBS นั่นถึงมีชื่อเหมือนกันเลยแล้วทำไมต้องใส่ชุดเหมือนกับอันเซมใน KH1 ด้วยล่ะอีกเรื่องนึงที่ผมอยากจะกล่าวถึงก็คือ เวน ที่มีทั้งทรงผม หน้าตา เสื้อผ้า และเสียงเหมือนกับร็อคซัสที่ปรากฏตัวใน KH ภาคก่อนหน้านี้เด๊ะๆ เลย เขาเป็นใครกันแน่นะ?

แฟมิซือ : ผู้ให้เสียงพากย์เวน เป็นคนเดียวกับร็อคซัสเหรอครับ
โนมุระ : ใช่ครับ เป็นคนๆ เดียวกัน ฉะนั้นแล้วผู้เล่นเนี่ยต้องมองเวนเป็นร็อคซัสจาก KH2 แน่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น...ความลับแห่งการดำรงอยู่ของเวนและร็อคซัสคืออะไร เมื่อได้เล่น KH -BBS- คุณก็จะได้พบกุญแจที่จะมาไขคำตอบของปริศนานี้ คุณจะสามารถแยกเวนและร็อคซัสออกจากกันได้อย่างง่ายดาย ผมจะใบ้ให้ว่าด้วยการเชื่อมเนื้อเรื่องของร็อคซัสและโซระเข้าด้วยกัน คุณจะเข้าใจว่าเวนเป็นใคร

แฟมิซือ : คนที่เราต้องสู้ด้วยใน KH2 FM+ เป็นคนเดียวกันกับเทอร์ร่ารึเปล่าครับพวกเขาใช้คีย์เบลดที่เหมือนกันมากเลย
โนมุระ : ถ้าพวกเขาเป็นคนๆ เดียวกันจริง ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะคิดว่าพวกเขาเป็นคนๆ เดียวกัน

แฟมิซือ : ใน BBS นั้นหลังจากที่ทั้งสามตัวเอกต้องแยกจากกันแล้ว ราชามิคกี้ถึงได้ปรากฏตัวขึ้นมาเหรอครับ?
โนมุระ : เรื่องนี้นี่เกี่ยวพันกับเนื้อเรื่องอย่างลึกซึ้งเลยนะ ผมคงบอกไม่ได้ว่านั่นคือราชาของยุคนั้นรึเปล่า? (จะบอกว่ามิคกี้นั่งไทม์แมชชีนมาจากอนาคตรึไง) นั่นก็เพราะพวกเราต้องการทำให้ BBS มีเนื้อเรื่องที่ซีเรียสเข้มข้นน่ะนะ

แฟมิซือ : ใน BBS เนี่ย ระบบการเล่นจะเป็นการให้เราเลือก Action Command จากคำสั่งต่างๆ ใน Command List รึเปล่าครับ?
โนมุระ : ผมคิดว่าเราจำเป็นที่จะต้องพูดเรื่องนี้กันก่อน Command Menu ที่ได้เคยโชว์ออกไปผ่านสื่อนั้นได้ถูกเปลี่ยนไปแล้ว ตอนนี้ระบบที่ใกล้เคียงกับ Command Deck ของภาค Re: CoM ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว สกรีนช๊อตที่มีให้เห็นกันต่อไปนี้ก็คงจะโชว์ให้เห็นไอเดียที่คล้ายๆ กับภาค Re: CoM ย้ำอีกครั้งว่าฉากต่อสู้ที่คุณได้เห็นจากภาพในตอนนี้ มันได้ถูกเปลี่ยนไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามระบบการควบคุมมันก็ยังคล้ายๆ กับ KH ภาคก่อนๆ อยู่ดี อ้อ...นอกจากนี้ ตัวเกมเพลย์ดูเหมือนจะได้อิทธิพลมาจากเกมของ NDS เกมหนึ่ง Its a Wonderful World นิดๆ หน่อยๆ ด้วยนะ

แฟมิซือ : ระบบการพัฒนาตัวละครจะมีอะไรแปลกใหม่มั้ยครับ? (ระบบเลเวล)
โนมุระ : ระบบการพัฒนาแบบใหม่ได้ถูกใส่เข้าไปในเกมแล้ว เมื่อคุณได้ทำภาระหน้าที่ 4 อย่างในเนื้อเรื่อง (?) เราได้ลองพัฒนามันหลายๆ แบบ เพราะมันเป็นเรื่องยากสำหรับ PSP นอกจากนี้ เราหาวิธีที่จะเอาอนาล็อคมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว

แฟมิซือ : ในเรื่องของศัตรูใหม่นั้น คุณสามารถยืนยันได้รึเปล่าว่ายังไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา?
โนมุระ : ศัตรูใหม่นั้นไม่ใช่ทั้งฮาร์ทเลส และไม่ใช่ทั้งโนบอดี้ เนื้อเรื่องนั้นเกิดขึ้นก่อนที่พวกนั้นจะปรากฏตัวขึ้นมาเสียอีก เมื่อเวลาผ่านไปผมก็จะทยอยให้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เองแหละ เดี๋ยวก็จะมีศัตรูอย่างชาโดว์ของพวกฮาร์ทเลส หรือดัสค์ของพวกโนบอดี้ ออกมาให้เห็นเอง

แฟมิซือ : ด้วย PSP นี่...พอจะมีวิธีการทำให้ผู้เล่นสองคนสามารถเชื่อมต่อกันได้มั้ยครับ?
โนมุระ : ยังเร็วเกินไปที่จะตอบคำถามนั่นในตอนนี้นะ เอาเป็นว่ามันจะมีระบบที่ดึงเอาข้อดีของ PSP มาใช้แน่ๆ ละกัน

แปลผิด แปลเขี่ย กราบขออภัยล่วงหน้า โปรดเห็นใจคนพึ่งตื่นนอนและพรุ่งนี้มีสอบด้วยเจ้าข้าเอ้ย~ T__T

Wednesday, September 26, 2007

"ปรีชญา"สาวไทยคนแรกภายใต้ชื่อบริษัท Square Enix


โดยผู้จัดการออนไลน์ : 26 กันยายน 2007

ใครเล่าจะเชื่อว่าคนไทยที่เคยเล่นเกมจากต่างประเทศมาโดยตลอด สักวันหนึ่งจะได้มีชื่อเข้าไปร่วมพัฒนาเกมกับบริษัทชื่อดังระดับโลกอย่าง สแควร์ เอนิกซ์ เจ้าของผลงานเกมที่หลายคนหลงใหลในมนต์เสน่ห์โลกแห่งจินตนาการ ไฟนอล แฟนตาซี และที่สำคัญเขาคนนั้นกลับไม่ใช่ผู้ชายเหมือนที่หลายคนคิด น.ส.ปรีชญา ศรีสมบัติ หญิงสาวคนแรกและน่าจะเป็นคนเดียวของไทยในตอนนี้ที่ได้ร่วมงานกับค่ายสแควร์ เอนิกซ์ ในดินแดนซากุระ

น.ส.ปรีชญา ศรีสมบัติ เธอหอบเอาความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อปี 2546 ไปร่ำเรียนในระดับปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สถาบันเทคโนโลยีโตเกียวในระดับปริญญาโท ค่อนข้างน่าเสียดายเธอไม่ขอเปิดเผยโฉมหน้าให้เราได้เห็น ส่งมาเพียงบัตรเข้างาน โตเกียว เกมโชว์ ที่ผ่านมาในฐานะหนึ่งทีมงานของสแควร์ เอนิกซ์เท่านั้น

น.ส.ปรีชญา เล่าให้ฟังว่า ตัวเธอไม่เคยศึกษาด้านการทำเกมในญี่ปุ่นมาก่อน แต่เคยทำเกมเป็นโปรเจกต์ตอนเรียนปี 4 สมัยอยู่ที่เมืองไทย และมาเรียนต่อป.โทที่ญี่ปุ่นด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก ไม่ได้เกี่ยวกับเกมโดยตรง ออกแนวทฤษฏีเกี่ยวข้องกับการคำนวณเสียมากกว่า จากนั้นก็ได้เข้ามาทำงานในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ของบริษัทสแควร์ เอนิกซ์ โดยเธอบอกว่าความรู้สึกส่วนตัวว่า ค่อนข้างดีใจ เพราะเป็นบริษัทที่ใฝ่ฝันเอาไว้เหมือนกัน

เมื่อถามว่าคิดอย่างไรถึงเลือกการทำเกมเป็นอาชีพ เธอตอบกลับมาว่า เพราะชอบโปรแกรมมิ่งและชอบเกม จำได้ว่าเคยไปฝึกงานตอนปี 3 เขียนโปรแกรมสำหรับใช้ในโรงงานแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่อยากเขียน เลยคิดว่าเขียนเกมคงสนุกและมีความสุขมากกว่า

การเข้าไปร่วมงานกับสแควร์ เอนิกซ์ ลำบากมากน้อยขนาดไหน โปรแกรมเมอร์คนเก่งจากไทยตอบว่า กว่าจะได้เข้าเป็นพนักงานจริงก็ลำบากเหมือนกัน ตัวเธอเริ่มจากการสมัครเป็น เคงชูเซย์ (เหมือนเด็กฝึกงาน)โดยการสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต อันดับแรกให้ส่งเอกสารและประวัติส่วนตัวไปให้เขา พร้อมกับเรียงความหนึ่งหน้ากระดาษ A4 ว่าทำไมเราถึงอยากเป็นเกมโปรแกรมเมอร์ (แน่นอนว่าเป็นภาษาญี่ปุ่น) เมื่อขั้นเอกสารผ่านไปเป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากตัวเธอไม่มีผลงานเกมไปส่งเลย เขาจึงให้หัวข้อการบ้านมาทำผ่านทางอีเมล์ โดยให้เขียนเกม โอเทโร่ ถ้าจำไม่ผิดจะให้เวลาหนึ่งอาทิตย์ แล้วก็ส่งเมล์ตัวโปรแกรมไปพร้อมกับรายงาน อธิบายโปรแกรมและอัลกอริทึ่มที่ใช้ จากนั้นเมื่อผ่านรอบนี้ถึงจะเข้าสู่การสัมภาษณ์ (แน่นอนว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน)

เมื่อผ่านสัมภาษณ์ ก็เข้าสู่ช่วงฝึกงานเป็นเวลา 2 เดือน โดยยังไม่ได้สัมผัสงานจริง แต่เป็นการให้การบ้านเรื่อยๆเช่นเคย เดือนแรกให้เราเขียนเกม ปุโยะปุโยะ แล้วเดือนที่สองให้เขียนเกม สนุกเกอร์ แต่ว่าเด็กฝึกงานแต่ละคนทำการบ้านแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน และเราเพิ่งมารู้ในตอนหลังจากเข้าเป็นพนักงานแล้วว่า คนที่ดูแลเราตอนช่วงฝึกงานเป็นโปรแกรมเมอร์ชั้นผู้ใหญ่ในโปรเจกต์ที่เราจะเข้าไปทำงานด้วย นั่นก็แปลว่าตัวเธอคงถูกกำหนดตั้งแต่แรกหลังจากการสัมภาษณ์แล้วว่าจะถูกจัดเข้าโปรเจกต์เกมไหน (ตอนสัมภาษณ์มีคนสัมภาษณ์หลายคน และคนที่มาดูแลเราตอนฝึกงานก็เป็นหนึ่งในนั้น) ทั้งนี้ ในช่วงฝึกงาน เขาคงให้การบ้านที่คิดว่าจะให้เราไปทำงานในส่วนนั้นว่าเราจะทำได้ไหม และพิจารณาด้านมนุษยสัมพันธ์ไปด้วยในตัวเลย

ปรีชญาเล่าต่อว่า จากนั้นเมื่อผ่าน 2 เดือนไปแล้ว ตัวเธอถึงได้เข้าทำงานในโปรเจกต์เกมจริงๆ ในระหว่างนั้นก็มีเด็กฝึกงานที่ไม่ผ่านการฝึกงานหายหน้าไปทีละคนสองคน นับว่าเป็นการคัดสรรที่ค่อนข้างเข้มงวดทีเดียว นี่คือระบบการรับสมัครในแบบ เคงชู แต่หลังๆมา สแควร์ เอนิกซ์ เริ่มรับเด็กจบใหม่โดยตรงเข้ามาทำงานแล้ว รู้สึกว่าขั้นตอนการพิจารณาจะไม่เหมือนกัน โดยจะไม่ต้องผ่านขั้นตอนฝึกงานก่อน และสำหรับคนที่เคยมีประสบการณ์การทำงานจากที่อื่นมาก่อนแล้ว ขั้นตอนการพิจารณาก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ส่วนเกมที่กำลังพัฒนาอยู่ไม่สามารถบอกได้ เพราะเป็นเกมที่ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการ ปรีชญาปิดความลับเกมที่เธอกำลังร่วมพัฒนาอยู่

ด้านบรรยากาศการทำงานในบริษัทใหญ่ ปรีชญาเล่าว่า โดยมากหนึ่งโปรเจกต์เท่ากับหนึ่งเกม แต่บางโปรเจกต์ก็ไม่ได้ทำเกมโดยตรง เช่น โปรเจกต์ที่ทำตัวเอนจิน แต่ค่อนข้างโชคดีที่โปรเจกต์ของเธอทำอยู่ค่อนข้างครึกครื้น ผู้ร่วมงานครื้นเครง ส่งผลให้การทำงานเลยค่อนข้างสนุกสนานเลยทีเดียว ตัวงานมีกำหนดเป็นขั้นๆ เช่นขั้นอัลฟ่า ,เบต้า และมาสเตอร์ แต่อาจจะเลื่อนขึ้นเลื่อนลงแล้วแต่สถานการณ์

ในส่วนของความเป็นอิสระของทีมงานในการออกไอเดียนั้น ปรีชญาระบุว่า ไอเดียเกือบทั้งหมดคือความคิดจากคนในโปรเจกต์ แต่ก็จะมีการส่งให้ระดับผู้บริหารพิจารณาเป็นขั้นๆดังกล่าว แล้วก็ถูกปรับแก้ หรือถ้าไม่รอดก็ถูกยุบโปรเจกต์ ก็ว่ากันไป แต่ถ้าพูดถึงในส่วนโปรแกรมเมอร์แล้ว ไอเดียหลักของเกมโดยมากจะมาจากตัวผู้วางแผน จากนั้นค่อยมาปรับแก้อีกทีด้วยโปรแกรมเมอร์ว่าเราสามารถเขียนโปรแกรมได้ตามที่เขาต้องการไหม หรือถ้าเป็นแบบนี้จะประมวลผลได้เร็วกว่า แต่เราก็สามารถเสนอไอเดียของตัวเองได้เช่นกัน เพราะจะมีประชุมอยู่เรื่อยๆอยู่แล้ว

ปรีชญาบอกว่า การทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์เกม แต่ละเกมใช้คนทำงานในส่วนนี้ไม่เท่ากันหรือตายตัว ถ้าเกมเล็กมากอาจจะแค่คนเดียว แต่บริษัทสแควร์ เอนิกซ์โดยมากจะไม่ค่อยทำเกมเล็ก อย่างน้อยๆที่เคยรู้มาก็มี 3-4 คน แต่ถ้าเกมใหญ่ๆ 10-20 คนไปเลยก็มี ซึ่งบางเกมรวมทีมงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์, แพลนเนอร์ หรือดีไซเนอร์ ในช่วงพีคๆของงาน เคยได้ยินมาว่าเลยขึ้นไปเกิน 150 คนเลยทีเดียว

ทีมงานจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับช่วงพีคด้วย เช่น ช่วงเริ่มต้นทีมอาจน้อยคน พอช่วงที่โปรแกรมเริ่มเข้ารูปเข้ารอย ต้องการคนวาดรูปมากขึ้นดีไซเนอร์ก็จะเพิ่มขึ้น และช่วงท้ายที่เกมเริ่มเสร็จ ทีมก็จะเริ่มลดจำนวนลงเพราะย้ายคนไปทำโปรเจกต์อื่นต่อไปปรีชญากล่าว
สำหรับน้องๆที่อยากทำเกม ปรีชญาแนะแนวทางให้ฟังว่า คนไทยมักจะเข้าใจว่า เกมโปรแกรมมิ่ง คือ กราฟิก ซึ่งตัวเธอก็เคยคิดแบบนั้น แต่พอเข้ามาทำงานจริงๆแล้วเราถึงได้รู้ว่ามันไม่ใช่แค่นั้น มันมีหลายส่วนมากๆ ยกตัวอย่างเช่น Collision Detection, Game AI(ระบบปัญญาประดิษฐ์), Database, Tools ต่างๆที่ต้องพัฒนาขึ้นให้ Event Scripter หรือ Designer ใช้, หรือถ้าเกมออนไลน์ก็จะมีส่วน Network ด้วย แน่นอนว่ากราฟิกเป็นส่วนที่เป็นหน้าเป็นตาของเกม แต่ถ้า AI ห่วยแตก หรือเกมออนไลน์ที่ถูกเจาะระบบกันได้แหลกลาญ เกมมันก็คงจะไม่สนุกแน่ๆ เพราะฉะนั้นเราถึงได้รู้สึกว่าเกมไม่ได้มีแค่กราฟิกอย่างเดียว

ส่วนใหญ่เข้ามาในบริษัทช่วงแรกๆ เราจะได้จับงานส่วนไหนเรามักเลือกเองไม่ได้ แน่นอนว่าเขาคงจะถามเราก่อนว่าเราอยากทำอะไร แต่มันก็ต้องขึ้นด้วยว่าตอนนั้นเขาขาดคนในส่วนไหน ซึ่งถ้าเรามีความสามารถทำได้หลายอย่าง ก็เป็นข้อได้เปรียบให้เราเข้าไปทำงานในส่วนนั้น และอาจค่อยๆขยับขยายเปลี่ยนหน้าที่ในขั้นต่อๆไป

ส่วนใหญ่เข้ามาในบริษัทช่วงแรกๆ เราจะได้จับงานส่วนไหนเรามักเลือกเองไม่ได้ แน่นอนว่าเขาคงจะถามเราก่อนว่าเราอยากทำอะไร แต่มันก็ต้องขึ้นด้วยว่าตอนนั้นเขาขาดคนในส่วนไหน ซึ่งถ้าเรามีความสามารถทำได้หลายอย่าง ก็เป็นข้อได้เปรียบให้เราเข้าไปทำงานในส่วนนั้น และอาจค่อยๆขยับขยายเปลี่ยนหน้าที่ในขั้นต่อๆไป

ใครที่อยากทำงานเป็นเกมโปรแกรมเมอร์ สนับสนุนให้มีพื้นฐานด้านโปรแกรมมิ่งให้แน่นหนาก่อน เขียน C/C++ ให้คล่องๆ ยิ่งถ้าแน่นด้าน OOP หรือมีความรู้ด้านดีไซน์ แพตเทิร์นด้วยก็จะยิ่งได้เปรียบ หลังจากนั้นก็ลองให้การบ้านตัวเองเป็นการฝึกเขียนเกมง่ายๆขึ้นมาสักหนึ่งเกม ถ้าเขียนเองตั้งแต่ศูนย์ได้ทั้งหมดเลยยิ่งดี จะทำให้เราได้ลองงานในทุกๆส่วน ไม่ว่าจะเป็นกราฟิก,AI หรือระบบฟิสิกส์ นอกจากนี้ ควรฝึกเขียนโปรแกรมให้เป็นระเบียบ ให้อ่านง่ายๆ และเขียนคอมเมนต์กำกับไว้ด้วยก็จะดีมาก เพราะเวลาไปเขียนโปรแกรมร่วมกับคนอื่น เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญทีเดียว ปรีชญาเล่าข้อเท็จจริงในการทำงานให้ฟัง

โปรแกรมเมอร์เกมสาวชาวไทยแนะนำด้านการมาเรียนพัฒนาเกมในญี่ปุ่นว่า ถ้าเอาเป็นเซมมงกักโค(โรงเรียนสายอาชีพ)โดยตรงด้านเกมเลย ก็เห็นมีที่ดังๆก็คือ DEA (Digital Entertainment Academy) แต่รู้สึกว่าเขาจะไม่ออกวีซ่าให้ เพราะฉะนั้นคนไทยคงจะเข้าเรียนได้ลำบาก นอกจากนั้นก็มีอีกหลายโรงเรียนที่เปิดสอน แต่ไม่ค่อยรู้จักเท่าไร อันที่จริงแล้วการมาเป็นเกมโปรแกรมเมอร์ ส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็นต้องมาเรียนโรงเรียนด้านเกมโดยตรงก็ได้ อาจจะมาเรียนมหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์ปกติ เพียงแต่เราต้องสนใจอ่านหนังสือและศึกษาด้วยตนเอง ส่วนการมาเรียนที่โรงเรียนด้านเกมโดยตรง อาจจะได้เปรียบกว่าตรงที่ทางโรงเรียนอาจจะมีการแนะแนวแนะนำบริษัทต่างๆให้เรารู้จักโดยตรง

ในด้านความรู้แล้ว คิดว่าเรียนที่ไหนก็คงไม่ต่างกันมาก หากเรารู้จักขวนขวาย อาจจะไม่จำเป็นต้องมาเรียนถึงญี่ปุ่นก็ได้ ความรู้ในเมืองไทยหาได้มากมาย หนังสือ Textbook บ้านเราก็ถูกกว่า รู้สึกว่าการมาที่นี่เหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้เราเข้ามาหางานได้มากกว่า น.ส.ปรีชญากล่าว

สำหรับคนที่อยากไปเรียนทำเกมในญี่ปุ่นจะต้องมีพื้นฐานด้านภาษาญี่ปุ่นมากน้อยขนาดไหน ปรีชญาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังว่า หากแค่ มาเรียน คิดว่าไม่จำเป็นมาก เพราะอย่างไรก็ดีเราต้องมาเรียนภาษาญี่ปุ่นก่อนเข้าเรียนจริงอย่างน้อย 6 เดือนอยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าเรามีพื้นฐานมาก่อน เราอาจจะใช้ชีวิตในญี่ปุ่นได้ง่ายกว่า และเรียนภาษาได้ไวกว่า แต่ถ้าใครตั้งใจเรียนภาษาจริง คิดว่าเวลา 6 เดือนเพียงพอให้เราพูดคุยภาษาญี่ปุ่นและใช้ชีวิตในญี่ปุ่นได้


แต่ผู้ที่คิดจะมา ทำงานในญี่ปุ่น ปรีชญาบอกว่า ภาษาญี่ปุ่นจำเป็นมาก อย่างน้อยๆจะต้องพูดคุยกับคนญี่ปุ่นได้ตามปกติ เพราะคนที่ทำงานร่วมกันคือคนญี่ปุ่นทั้งนั้น น้อยกรณีมากที่บริษัทจะรับคนที่พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ แต่ก็เคยพบบ้าง อย่างเช่นเข้าไปทำงานในทีมวิจัยร่วมกับคนต่างชาติ ซึ่งในกรณีนั้น ภาษาอังกฤษก็จะเข้ามาเป็นสิ่งจำเป็นแทน

ด้านชีวิตการเรียนกับคนญี่ปุ่นนั้น ตอนที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยก็มีคนไทยค่อนข้างเยอะ ประมาณ 30-40 คนได้ มีข้อดีก็คือรุ่นพี่เทกแคร์ดีมาก ทำให้ตอนมาใหม่ๆไม่ต้องงมเข็มลำบากเอง แต่ข้อเสียก็คือคนไทยค่อนข้างเกาะกลุ่มกัน ทำให้มีโอกาสพูดคุยกับคนญี่ปุ่นน้อย และคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนโตเกียว มักจะไม่ค่อยเข้าไปพูดคุยกับคนอื่นก่อน ยิ่งพอเป็นคนต่างชาติเขาจะออกกลัวๆ แต่ถ้าเรากล้าเขาไปพูดคุยและทำความรู้จักกับเขาสักพัก คนญี่ปุ่นก็ใจดีกว่าที่คิดไว้เสียอีก กล่าวปิดท้าย

น.ส.ปรีชญา ศรีสมบัติ
ประวัติการศึกษาและการทำงาน
-มีนาคม 2546 ปริญญาตรี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
-เมษายน 2546 ถึงมีนาคม 2547 นักศึกษาวิจัย Tokyo Institute of Technology
-เมษายน 2547ถึงมีนาคม 2549 ปริญญาโท Information Science and Technology, Tokyo Institute of Technology
-สิงหาคม 2549 ถึงปัจจุบัน โปรแกรมเมอร์บริษัท Square Enix

ผู้จัดการเกม เปิดโครงการสนับสนุนกลุ่มพัฒนาเกมไทยที่อยากจะเผยแพร่ผลงานเกมและการถ่ายทอดความรู้ผ่านทางสื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอินดี้เล็กๆในกลุ่มหรือบริษัทพัฒนาเกมรายย่อยอื่นๆ ด้วยการเป็นกระบอกเสียงหนึ่งเพื่อช่วยอุตสาหกรรมเกมของคนไทยให้เติบโตไปในอนาคต สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 0-2629-4488 ต่อ 1453 หรือ 1454 ในเวลา 14.00-18.00 น. วันจันทร์-ศุกร์

Friday, September 7, 2007

สรุปบทสัมภาษณ์ล่าสุดของเกม Crisis Core -FFVII- จากนิตยสารแฟมิซือ

หลังจากผ่านการเลื่อนแล้วเลื่อนอีกมานานแสนนาน ในที่สุดเนื้อเรื่องตอนล่าสุดของตำนานเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Final Fantasy VII (เวอร์เข้าไป) ก็จะปรากฏสู่สายตาของสาธารณชนทั่วทั้งแผ่นดินญี่ปุ่นในวันที่ 13 กันยายนที่กำลังจะมาถึงนี้ ในโอกาสที่ Crisis Core Final Fantasy VII- กำลังจะวางจำหน่ายนี้ ทางนิตยสารแฟมิซือจึงได้เข้าไปขอสัมภาษณ์คุณ โยชิโนริ คิตาเสะ (Executive Producer) ฮิเดกิ อิมาอิซึมิ (Producer) ฮาจิเมะ ทาบาตระ (Director) และ เท็ตสึยะ โนมุระ (Character Design) เกี่ยวกับเรื่องภาพรวมการพัฒนาเกม Crisis Core และความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อไปในอนาคต

สำหรับหัวข้อแรกของ Crisis Core นั้น คุณทาบาตะได้เปิดเผยถึงความจุอันมหาศาลของเกมนี้ ซึ่งเรียกได้ว่ามันแทบจะเต็มความจุของ UMD-ROM เลยทีเดียว ส่วนทางด้านสมดุลเกมนั้นเขารู้สึกว่าตัวเกมมีสมดุลที่ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าผู้เล่นจะเลเวลเท่าไหร่ก็สามารถจบเกมได้ทั้งนั้น นอกจากนี้ก็ยังมีมิสชั่นอีกกว่า 300 มิสชั่นที่ได้เตรียมไว้ให้ผู้เล่นได้เล่นกันเป็นส่วนเสริมนอกเหนือไปจากเนื้อเรื่องหลัก มิสชั่นพวกนี้ค่อนข้างจะยากเป็นพิเศษ แต่ก็จะง่ายขึ้นหากเขาเล่นเกมนี้รอบที่สอง ทั้งนี้เพราะเราได้เตรียม New Game+ ที่จะโอนข้อมูลของตัวละครจากการเล่นในรอบแรกมาด้วยแล้ว

มีเรื่องน่าสนใจอยู่เล็กน้อยเมื่อถามถึงจุดกำเนิดของเกม Crisis Core ซึ่งคุณทาบาตะก็เผยว่าเดิมทีแล้วโปรเจคท์นี้เริ่มต้นจากไอเดียที่ทีมงานต้องการพอร์ทเกม Before Crisis ซึ่งเป็นเกมในโปรเจคท์ของคุณทาบาตะเองลงบนเครื่องอื่น ซึ่งคุณคิตาเสะเองก็เห็นด้วยและก็ได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกันอย่างจริงจัง ในตอนนั้นเองคุณโนมุระก็ได้แนะนำว่าพวกเขาน่าจะทำอะไรที่มีความหมายกับ Compilation of Final Fantasy VII มากกว่านั้นแทน และนั่นก็เป็นจุดกำเนิดของไอเดียในการสร้างเกมที่กล่าวถึงแซ็ค โซลเยอร์ที่ไม่ค่อยจะถูกเหลียวแลใน Compilation ภาคอื่นๆ เบ็ดเสร็จแล้วเราใช้เวลาทั้งหมด 2 วันในการคิดตัดสินใจทำเกมนี้ขึ้นมา คุณคิตาเสะกล่าวอย่างติดตลก

นอกจากเรื่องของ Crisis Core แล้วทางทีมงานแฟมิซือก็ได้ถึงข่าวการพัฒนาเกมใหม่ๆ ใน Compilation of Final Fantasy VII พวกเขาได้ย้ำว่าแฟนๆ ทั่วโลกต่างกำลังคาดหวังกับการรีเมคของ Final Fantasy VII ซึ่งกับประเด็นนี้แล้วคุณทาบาตะก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอบ แต่เขากลับพาออกทะเลด้วยการบอกว่าทาง Square Enix เองก็ได้เตรียมที่จะเปิดให้บริการโหลดเกม Before Crisis ตอนใหม่พร้อมๆ กับช่วงที่ Crisis Core วางจำหน่าย โดยตอนใหม่นี้จะมีเรโน่เป็นตัวเอก

ปัญหาของการรีเมค Final Fantasy VII นั้นอยู่ที่เรื่องของเวลา คุณอิมาอิซึมิกล่าวว่าคุณคิตาเสะ คุณโนมุระ และคุณทาบาตะต่างก็กำลังวุ่นอยู่กับกับพัฒนาซีรียส์ Final Fantasy XIII เขาจะเสริมอีกว่าจะมีเกมใหม่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเปิดเผยในงาน Tokyo Game Show ในจุดนี้ทางแฟมิซือไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาหมายถึงเกมใหม่ในโปรเจคท์ Fabula Nova Crystallis หรือเกมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกันซึ่งสร้างโดยคุณคิตาเสะ คุณโนมุระ และคุณทาบาตะ ทว่าดูเหมือนว่าเกมใหม่ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้จะเป็นคนละเกมกับ Kingdom Hearts ภาคใหม่ที่คุณโนมุระเคยเปรยไว้ว่าจะเปิดเผยในงาน Tokyo Game Show ซึ่งเมื่อทางทีมงานลองถามเรื่องนี้กับคุณโนมุระแล้ว เขาก็ตอบกลับมาอย่างเรียบง่ายว่าคอยดูละกัน

ท้ายที่สุดแล้วคุณอิมาอิซึมิ ก็ได้กล่าวปิดประเด็นด้วยการยืนยันอีกครั้งว่าในตอนนี้ยังไม่มีแผนที่จะรีเมคเกม Final Fantasy VII อย่างไรก็ตามเขาได้เตือนไว้ก่อนว่าพวกเขาอาจจะเปลี่ยนใจเมื่อไหร่ก็ได้ ก็อย่างที่คุณคิตาเสะพูดแหละว่าพวกเขายังตัดสินใจสร้าง Crisis Core ขึ้นมาด้วยเวลาเพียงแค่ 2 วันเท่านั้น...

Thursday, September 6, 2007

จบ FFCC -Ring of Fates- แล้วจ้า~

หลังจากที่ผมได้เริ่มเล่น Final Fantasy Crystal Chronicle -Rings of Fates- แบบเขี่ยๆ มาได้ 3 วัน ตัวเกมที่สั้นจุ๊ดจู๋และสามารถจบได้ภายใน 13 ชั่วโมงก็เป็นอันจบลงซะแล้ว

เกม Final Fantasy Crystal Chronicle -Rings of Fates- เป็นเกมแนว Action Rpg สำหรับเครื่อง Nintendo DS ที่พึ่งจะวางจำหน่ายในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา ตัวเกมเน้นไปที่การเดินเข้าดันเจี้ยนแก้ปริศนาเปิดทางไปต่อ โดยเราจะมีเพื่อนในกลุ่มด้วยกันทั้งหมด 4 คน แต่ละคนก็จะมีความสามารถพิเศษในการสู้รบและการแก้ปริศนาที่แตกต่างกัน บางจุด เราจำเป็นต้องใช้เพื่อนที่เป็นนักธนูโจมตีใส่เป้าหรือสวิตซ์ที่อยู่ระยะไกล บางจุดก็ต้องให้เพื่อนที่เป็นนักเวทย์ร่ายมนต์สร้างทางเดินขึ้นมาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งบางจุดยังต้องมีการต่อตัวขี่คอกัน แล้วให้คนที่อยู่ด้านบนสุดกระโดดขึ้นไปสับสวิตซ์บนพื้นสูง ฯลฯ

พอเดินไปถึงปลายดันเจี้ยนเราก็ต้องปะทะกับบอสประจำฉากนั้นๆ หลังจากตุ๊บตั๊บบอสจนเป็นอันเสร็จพิธีเราก็จะได้กลับเข้าเมือง ซื้อข้าวซื้อของ ผสมไอเทม จากนั้นก็วิ่งหาเนื้อเรื่องและตามด้วยการเข้าไปลุยในดันเจี้ยนถัดไป วนเวียนเช่นนี้ไปจนจบเกม

ฉากสุดท้าย เราจะได้สู้ตัดสินกับบอสใหญ่ที่เป็นคนที่อยู่เบื้องหลังการตายของพ่อตัวเอก (ลาทอฟ)และยังเป็นคนที่ฆ่าแม่ของตัวเอก (อาเชส) ให้เห็นต่อหน้าต่อตา ฉากต่อสู้สุดท้ายเป็นการต่อสู้กันในอวกาศอย่างอลังการ ผลจากการปะทะมันด้วยทีมตัวละครเลเวล 42 ของผม ปรากฏว่ากลุ่มตัวเอกของผมสามารถชนะบอสใหญ่กัลเดสไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

พอชนะบอสใหญ่แล้วตัวเอกกับนางเอกที่เป็นพี่น้องฝาแฝดชายหญิง (ไข่คนละใบ) ก็จะพากันกลับบ้าน แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อพระเอกของเรา (ยูรี่) เริ่มออกอาการจะตายตอนจบเอาซะงั้น เมื่อเห็นดังนั้นแล้วนางเอก (เชรินก้า) ก็เลยยอมสละชีวิตตัวเองใช้พลังพิเศษของเธอช่วงให้ยูรี่รอด...แม้ยูรี่จะพยายามห้ามปรามเชรินก้าซักเพียงใดก็ไม่เป็นผล สุดท้ายแล้วกลับกลายเป็นเขาต่างหากที่ต้องร้องไห้จากการที่ต้องสูญเสียเชรินก้า คนในครอบครัวคนสุดท้ายของเขาที่หลงเหลืออยู่.. จึงเป็นอันว่าหลังจากนั้นยูรี่ก็เลยต้องใช้ชีวิตอย่างเศร้าสร้อยอยู่ตัวคนเดียว

วันคืนอันแสนเปล่าเปลี่ยวผ่านไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งยูรี่ได้ออกมานั่งกินลมเล่นนอกบ้าน เขาค่อยๆ นึกถึงเรื่องราวในอดีตที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กจนโต แต่แล้วก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นอีกแล้ว เมื่อเขาได้พบกับเชรินก้าที่น่าจะตายไปแล้ว (ตกลงน้องสาวคนนี้เค้าเป็นอะไรของเค้าเนี่ย ทำไมพลังพิเศษเยอะจัง =w=")เชรินก้ามอบอะไรบางอย่างให้กับเค้า และทันทีที่เขารับสิ่งนั้นมาก็เกิดแสงสว่างวาบขึ้น ทำให้ยูรี่ได้ย้อนคืนสู่อดีต เขาได้กลับไปสู่วันเวลาที่แสนคิดถึงในตอนเด็ก ที่นั่นเองยูรี่ได้พบกับเชรินก้า ลาทอฟ และอาเชสผู้เป็นแม่ของเขาอีกครั้ง เขาวิ่งเข้าไปสวมกอดแม่พร้อมๆ กับเชรินก้า และทันทีที่เชรินก้าพูดว่ายินดีต้อนรับนะ ยูรี่! พระเอกของเราก็ไม่ลังเลที่จะตอบต่อไปว่า กลับมาแล้วจ้า~

เมื่อดูฉาก Staff Roll เสร็จแล้วตัวเกมก็จะขึ้นให้กดเซฟ เมื่อเราเซฟแล้วเราจะกลับมาเริ่มต้นเกมใหม่อีกครั้ง โดยคราวนี้เราจะได้รับโอนเลเวล อาวุธ สกิล และไอเทมต่างๆ มาจากการเล่นในรอบแรกด้วย :D

ป.ล. ไหงผมเล่นจนจบแล้ว ก็ยังไม่ได้ฟังเพลง Hoshi no Nai Sekai จากเกมนี้เลยเนี่ย - -"

Wednesday, September 5, 2007

คะแนนวิจาณ์เกม Crisis Core พร้อมทั้งข้อมูลใหม่จากแฟมิซือ

 Crisis Core -Final Fantasy VII-- (9 /9 /8 /9 )


รวม : 35 / 40 คะแนน

ข้อมูลใหม่ของเกม

- ถ้าคิดจะกด skip ข้ามอีเวนต์ก็เสียใจด้วย เพราะไม่ได้ทำระบบเช่นนั้นมา
- มีบอสลับด้วย ถึงเลเวลเต็มก็ชนะไม่ได้ง่ายๆ
- ศัตรูทั่วๆ ไปแอบเนียนเอาโมเดลจาก DC มาใช้ แต่ฝีมือก็กระจอกกว่า เล่นด้วยง่ายกว่า
- ตอนนี้ยังไม่คิดจะรีเมคเกมนี้ แต่อนาคตซักวันนึงเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม ยังไงก็ต้องมีการรีเมคเกิดขึ้นน่ะแหละ
- ใกล้ๆ จบเกมแล้วคาแรคเตอร์ DMW จะมีเจเนซิสรวมอยู่ด้วย
- ฉากที่แซ็คไปเที่ยวเล่นทะเลกับซิสเนย์ (Cissnei) สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับที่แอริธเคยพูดในภาค 7 ว่าแซ็คเป็นที่รักใคร่ของผู้หญิง และก็ลัลล้าได้ไปทั่ว~
- จะมีบาฮามุทสีทองชื่อบาฮามุทเรทซึ (ซึ่งคาดว่าจะ) เป็นบาฮามุทตัวสุดท้ายของ Compilation of FFVII นี้ มันถูกอัญเชิญมาด้วยเจเนซิสและมีท่าไม้ตายชื่อว่า Exa Flare
- หลังเล่นจบเกมไปแล้วจะมี New Game Plus ออกมา ซึ่งจะเป็นโหมดใหม่ที่ทำให้เราเริ่มเกมด้วยเลเวลที่สูงกว่าปกติ (เหมือนกับ FFXII Inter ที่เริ่มด้วยเลเวล 90)
- ใช้ Firmware Version3.60 ขึ้นไปในการเล่น... แปลว่าใครไม่อยากเสีย Custon FW ของตัวเอง.. ก็ต้องอดทนรอไปกว่าจะมีคนแคร็ก 3.60 ได้.. ซึ่งก็ไม่รู้ต้องรออีกนานเท่าไหร่
- เคธซิธและโจโคโบะโหมด เป็นส่วนนึงของท่าลิมิตลับที่จะมอบผลของสเตตัสพิเศษหลายๆ อย่าง เช่น รีเจเน่และอมตะให้กับเรา
- คุณคิตาเสะกล่าวว่าในตอนแรกที่อยู่ในขั้นการคิดชื่อสกุลให้กับแซ็คนั้น เราได้คิดชื่อสกุลขึ้นมาด้วยกัน 3 ชื่อ และก็ได้ใช้ Fair ที่สื่อถึง Fair Weather เป็นนามสกุลของแซ็คในท้ายที่สุด ทว่าชื่อที่ถูกตัดไปก่อนหน้านั้นก็มีชื่อหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกางเกงว่ายน้ำของแซ็คซึ่งเป็นลายดอกทานตะวันอันใหญ่ ซึ่งชื่อสกุลนั้นก็คือ "ฮิมาวาริ" น่ะเอง....(เออ ดีแล้วที่ตัดๆ ไป)